รูปแบบรถไฟฟ้าไทย และเรื่องราว ประวัติศาสตร์รถไฟฟ้าไทย

รูปแบบรถไฟฟ้าไทย

รูปแบบรถไฟฟ้าไทย ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบันมีกี่ประเภท และ ประวัติศาสตร์รถไฟฟ้าในไทย กับ วิทยาศาสตร์กับวิถีชีวิต เรื่องราวรถไฟฟ้า มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง หาคำตอบไปพร้อมกันในบทความ วิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ กับ พาตะลอน ลายแทงความรู้

รูปแบบรถไฟฟ้าไทย มีกี่ประเภท?

รูปแบบรถไฟฟ้าไทย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ “รถไฟฟ้าระบบรางเบา” และ “รถไฟฟ้าระบบรางหนัก”

รถไฟฟ้าระบบรางเบา (Light Rail)

รูปแบบรถไฟฟ้าไทย

ระบบรางเบา เป็นโครงสร้างรางรถไฟฟ้า ที่เน้นการใช้พื้นน้อย ระยะทางไม่ไกลมาก เป็นลักษณะรางเดี่ยว โดยมีคุณสมบัติทั้งหมดดังนี้

  • มูลค่าการก่อสร้าง (Construction) : 600-700 ล้านบาท / กิโลเมตร
  • ระยะเวลาก่อสร้าง (Construction Time) : ใช้เวลาเร็วกว่า
  • ความจุของผู้โดยสาร (Capacity) : 1-4 หมื่นคน / ชั่วโมง / ทางวิ่ง
  • การใช้พื้นที่ (Construction Time) : ใช้พื้นที่น้อย เป็นระบบรางเดี่ยว ประหยัดพื้นที่
  • ผลกระทบด้านเสียงรบกวน (Noise) : เสียงเบา เพราะใช้รถไฟฟ้าล้อยาง

รถไฟฟ้าระบบรางหนัก (Heavy Rail)

รูปแบบรถไฟฟ้าไทย

ระบบรางหนัก เป็นระบบรางที่ใช้ประโยชน์ในทางไกล ใช้พื้นที่มากกว่าระบบรางเบา บรรทุกผู้โดยสารได้มาก โดยมีคุณสมบัติทั้งหมดดังนี้

  • มูลค่าการก่อสร้าง (Construction) : 600-700 ล้านบาท / กิโลเมตร
  • ระยะเวลาก่อสร้าง (Construction Time) : ใช้เวลานานกว่า
  • ความจุของผู้โดยสาร (Capacity) : 3-8 หมื่นคน / ชั่วโมง / ทางวิ่ง
  • การใช้พื้นที่ (Construction Time) : ใช้พื้นที่มาก เป็นระบบรางคู่ มีโครงสร้างใหญ่
  • ผลกระทบด้านเสียงรบกวน (Noise) : เสียงดังกว่า เพราะใช้รถไฟฟ้าล้อเหล็ก

รูปแบบรถไฟฟ้าในเมืองไทย

ปัจจุบันรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในกรุงเทพฯ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางหนัก ขณะที่มีรถไฟฟ้าที่สร้างเสร็จ และกำลังเกิดขึ้นในอนาคต เช่น รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ จะเป็นระบบรางเบา ในรูปแบบรางเดี่ยว ที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

  • ระบบรางหนัก จึงเป็นรถไฟ หรือรถไฟฟ้า ที่วิ่งภาคพื้นดินเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ระบบรางคู่ ในระยะทางไกล ข้ามจังหวัด 
  • ระบบรางเบา จะเป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งในโซนกรุงเทพและปริมณฑล ส่วนใหญ่เป็นรางรถไฟลอยฟ้า ยกสูงจากพื้นดิน หรือเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่ไม่เบียดเสียดการจราจรภาคพื้นปกติ

ความสำคัญของรถไฟฟ้า ในประเทศไทย

รถไฟฟ้า (Electric Traians) เป็นทางออกของการเดินทางในเมืองใหญ่ การขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ เช่น ที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ที่มีประชากรอาศัยอยู่หลายล้านคน การใช้รถโดยสารตามท้องถนน อย่างรถเมล์ แท็กซี่ มอเตอร์ไซต์รับจ้าง ไม่เพียงพอต่อความต้องการเดินทางของผู้คน

รถไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทต่อการเดินทางของผู้คน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีประชาชนแออัด ปัจจุบันรถไฟฟ้าสามารถช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้ดี ลดการจราจรที่ติดขัด ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม และเป็นสิ่งสำคัญที่เข้ามามีส่วนสำคัญของคนไทย

ประวัติศาสตร์รถไฟฟ้าไทย

รถไฟฟ้าของไทย มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ที่เริ่มระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ครั้งแรก ด้วยรถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ และมีการพัฒนาเรื่อยมาตามลำดับ

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ปีแรกที่เริ่มดำเนินรถไฟฟ้า BTS เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ วันที่ 2 สายคือ สายสุขุมวิท และสายสีลม
  • 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล
  • 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เปิดให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กับสถานี BTS พญาไท
  • 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จากบางใหญ่ ถึงเตาปูน
  • 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
  • 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีทอง จากกรุงธนบุรี ถึงคลองสาน
  • 7 มกราคม พ.ศ. 2567 เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู จากศูนย์ราชการนนทบุรี ถึงมีนบุรี

ทิศทาง รูปแบบรถไฟฟ้าไทย และการพัฒนาในอนาคต

รูปแบบรถไฟฟ้าไทย

ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอน การพัฒนาขนส่งมวลชน ด้วยรถไฟฟ้า เชื่อมต่อหลายพื้นที่ภายในโซนกรุงเทพและปริมณฑล และเชื่อมต่อไปยังหลายจังหวัดสำคัญ ในประเทศไทย โดยมีแผนการพัฒนารถไฟฟ้าดังนี้

  • พ.ศ. 2568 เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู จากเมืองทองธานี ถึงทะเลสาบเมืองทองธานี
  • พ.ศ. 2570 เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก จากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถึงแยกร่มเกล้า
  • พ.ศ. 2572 เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก จากบางขุนนนท์ ถึงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้าสายสีเงิน จากบางนา ถึงธนาซิตี้

สรุป รูปแบบรถไฟฟ้าไทย

รูปแบบรถไฟฟ้าไทย ปัจจุบันก็มีด้วยกัน 2 ประเภท ซึ่งในอนาคต รถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑล จะถูกสร้างด้วยระบบรถไฟฟ้ารางเบาเป็นส่วนใหญ่ และมีแผนการเชื่อมต่อพื้นที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า ไปยังจุดต่างๆ เหมือนโครงข่ายใยแมงมุมในอนาคต

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง