วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์ เรื่องราวของวิทยาศาสตร์กับชีวิต

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ กับวิถีชีวิตของมนุษย์ เราเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องใช้ชีวิตโดยแยกกับวิทยาศาสตร์ พาตะลอน จะพาไปดูว่า กิจกรรมของมนุษย์อะไรบ้าง ที่เข้าไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ อย่างเลี่ยงกันไม่ได้

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์ เรื่องฟิสิกส์กับชีวิตประจำวัน

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อ ฟิสิกส์ คือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านกายภาพ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ทำกิจกรรมอะไรอยู่ ก็จะมีบางสิ่งบางอย่าง อยู่รอบตัวเราเสมอ

น้ำ ของเหลวที่มนุษย์ขาดไม่ได้

น้ำ ถือเป็นของเหลวที่เกิดจาก ธาตุประกอบ จำนวน 2 ชนิด ก็คือ ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ไฮโดรเจนสองอะตอม รวมกับออกซิเจนหนึ่งอะตอม เกิดเป็นสารประกอบน้ำ ที่มีสูตรทางเคมี H2O

น้ำถูกใช้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การดื่มเพื่อดับกระหาย ไปจนถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่มีการใช้น้ำร่วมด้วย เช่นการซักผ้า การล้างรถ ใช้เพื่อการเกษตร เลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น

น้ำยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงฟิสิกส์ อย่างระบบไฮดรอลิค (Hydraulic) เครื่องสร้างแรงดันน้ำ สำหรับการตัด หรือการใช้ประโยชน์ทางเคมี อย่างกระบวนการแยกธาตุประกอบ เพื่อให้เกิดธาตุชนิดอื่น หรือการใช้เป็นธาตุประกอบกับสารชนิดอื่น

ความร้อน พลังงานที่กระจายอยู่ทุกที่ทั่วโลก

ของแข็ง ของเหลว และอากาศ ยอมให้ความร้อนไหลผ่าน วัสดุใดความร้อนผ่านได้ง่าย จะเป็นตัวนำความร้อนที่ดี ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับความร้อน การนำพา การกักเก็บความร้อนทั้งสิ้น

พลังงานความร้อนถูกส่งผ่านจากโมเลกุลหนึ่ง ไปยังโมเลกุลอื่นๆ ของวัสดุด้วยการนำความร้อน โดยโมเลกุลของวัสดุบริเวณปลายด้านที่ได้รับความร้อน จะสั่นอย่างรวดเร็ว แล้วส่งต่อการสั่นนี้ไปยังโมเลกุลอื่นๆ ของวัตถุด้วยการชนต่อไป

มนุษย์นั้น ใช้ความร้อนในการทำกิจกรรมต่างๆ การทำอาหาร การตากเสื้อผ้า การทำให้สิ่งที่เปียกชื้นแห้ง ใช้เพื่อให้ร่างกายมนุษย์อบอุ่น และอื่นๆอีกมากมาย

ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ส่งไปถึงทุกบ้านเรือน

มนุษย์มีความต้องการใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น ใช้สำหรับเครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ฯลฯ

เรามีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่มีเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี ปัจจุบัน กระแสไฟฟ้าจึงมีส่วนสำคัญ ต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์สูงมาก จึงมีการเพิ่มแหล่งผลิตไฟฟ้า ให้เพียงพอต่อความต้องการนี้

เสียง คลื่นเสียงและโน๊ตสำหรับสื่อสาร

เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน ที่ส่งผ่านตัวกลางทางอากาศ หรือตัวกลางที่มีสถานะอื่นๆ เมื่อคลื่นเสียงกระจายออกไป เข้าสู่หู หูของเราจะแปลงคลื่นเสียงให้กลายเป็นการได้ยิน เข้าสู่สมองของเราโดยตรง

นอกจากการพูด ก็ยังมีคลื่นเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรี ที่มนุษย์ค้นพบ และสามารถประดิษฐ์ได้ตั้งแต่ในอดีต เหล่านักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า เสียงเคลื่อนที่ในลักษณะของคลื่น ต่อเนื่องกันเหมือนกับน้ำกระเพื่อมในบ่อ

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์ กับสิ่งประดิษฐ์ในชีวิตประจำวัน

วิทยาศาสตร์ถูกนำมาสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ ที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ด้วยการใช้งานในด้านต่างๆ สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ล้วนเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์

รถยนต์ กับความสะดวกแห่งการเดินทาง

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์

รถ ถือเป็นยานพาหนะพื้นฐานเพื่อการเดินทาง ที่ใครต่างก็มี หรือรู้จัก ในยุคปัจจุบัน เกิดจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาต่อยอด สร้างรถที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน หรือการสันดาป ความก้าวหน้าในการสร้างรถ ถูกต่อยอดไปยังเทคโนโลยีการเดินทางประเภทอื่นๆ

รถยนต์ยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีล้ำยุคในปัจจุบัน เช่น รถยนต์ไร้คนขับ นิยายวิทยาศาสตร์ที่เป็นจริง ภาพรถยนต์เคลื่อนที่ไปมา ในโลกอนาคตโดยไม่มีคนขับ ในภาพยนตร์หลายเรื่องเป็นจริงแล้ว และกำลังถูกพัฒนา ให้ล้ำยุคมากกว่าเดิม

ถึงแม้ว่ารถยนต์ไร้คนขับ ได้ถูกพัฒนาออกมาบ้างแล้ว แต่ก็อยู่ในช่วงของการทดสอบ เพราะการที่จะทำให้รถยนต์ไร้คนขับ อยู่ร่วมกับรถยนต์ธรรมดาจริงๆ เป็นเรื่องยาก สิ่งที่กำลังพัฒนาได้แก่ เซนเซอร์ ตรวจจับรอบรถยนต์ เทคโนโลยี GPS รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์

รถไฟฟ้า ทางออกของการเดินทางในเมืองใหญ่

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์

รถไฟฟ้าเป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ สร้างยานพาหนะ สำหรับเดินทางของมนุษย์ ที่ต่อยอดมาจากการใช้รถยนต์ เพื่อรองรับการเดินทางของผู้คนเป็นจำนวนมาก รถไฟฟ้าถูกนำมาใช้ในการเดินทางสำหรับเมืองใหญ่ ที่ผู้คนหนาแน่น และแออัด

การขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ ที่มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 10 ล้านคน ใช้เพียงรถเมล์โดยสารอย่างเดียว คงไม่เพียงพออีกต่อไป ขณะที่ปริมาณถนนมีอัตราการเพิ่มขึ้นน้อยกว่า อัตราการเพิ่มของปริมาณรถยนต์ส่วนตัว

ด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นที่ไม่สอดคล้องกันนี้ ทำให้เกิดการจราจรติดขัด เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งทางสังคม และสิ่งแวดล้อม แต่รถไฟฟ้า คือทางออกของปัญหานี้ ที่จะเข้ามาช่วยให้การเดินทาง มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่

เรือ การเดินทางที่ไม่จำกัดเพียงผืนแผ่นดิน

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์

เมื่อประมาณ 150 ปีที่ผ่านมานี้ การขนส่งทางน้ำยังต้องใช้คนเพื่อพายเรือ หรือให้แรงลมพัดใบเรือ แต่ในปัจจุบันนี้ วิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการเดินเรือ ด้วยเครื่องยนต์ ทำให้การเดินทางด้วยเรือ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

เรือยังถือเป็นอีกหนึ่งการเดินทาง ที่ถูกใช้เพื่อข้ามเกาะ ข้ามประเทศ และการข้ามทวีป ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตการเดินทางของผู้คนในยุคนี้ ให้ไม่ยากลำบาก และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงอีกต่อไป

เครื่องบิน สุดยอดสิ่งประดิษฐ์แห่งการเดินทางข้ามทวีป

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์

เครื่องบินได้ถือกำเนิดตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้ในการทำสงครามโดยเฉพาะ เครื่องบินถูกพัฒนาต่อยอดจากความฝันของมนุษย์ ที่อยากจะบินได้เหมือนกับนก ในปัจจุบันเครื่องบินใช้สำหรับโดยสาร เดินทางไกลข้ามประเทศ

ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ เครื่องบินสามารถบินอยู่ในอากาศได้ เพราะถูกยกขึ้นด้วยแรงดันจากอากาศ แรงยกที่กล่าวถึงนี้ เกิดขึ้นมาจากอากาศ ที่ผ่านไปบนพื้นผิวโค้งด้านบนของปีกเครื่อง ด้วยความเร็วมากกว่าอากาศที่ผ่านบริเวณพื้นผิวด้านล่างของปีก

เนื่องจากปีกส่วนบนถูกออกแบบให้มีลักษณะโค้ง ส่วนด้านล่างนั้นแบนราบ ด้วยเหตุการณ์การเคลื่อนที่ของอากาศผ่านทั้ง 2 บริเวณบนล่างของปี ทำให้ด้านบนมีความกดอากาศน้อยกว่าด้านล่าง เกิดเป็นแรงดันด้านล่างปีก ที่ยกปีกเครื่องบินขึ้น

สรุป วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์

วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์ ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของผู้คน ให้เป็นเรื่องปกติ เป็นกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่อำนวยความสะดวกสบาย แบบที่เราได้พบเห็นในยุคปัจจุบัน อนาคตนี้จะมีเทคโนโลยีใด เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเราบ้าง เราคงจะต้องจับตาดูไปพร้อมๆกัน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง