ระบบภูมิอากาศโลก ธรรมชาติรอบตัวของสิ่งมีชีวิต ที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา อาจจะเปรียบได้ดั่ง วิถีชีวิตกับวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ใกล้ตัว ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ บทความนี้ พาตะลอน จะพาผู้อ่านไปทำความรู้จัก วิทยาศาสตร์ของระบบภูมิอากาศโลก
ระบบภูมิอากาศโลก (Global Climate System) คือ กลไกหรือวัฏจักรต่างๆ ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ทำให้เกิดสภาวะภูมิอากาศของโลก อันประกอบไปด้วย
บรรยากาศของโลกเรา มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ ป้องกันรังสีอันตรายจากดวงอาทิตย์ และกักเก็บรังสีบางอย่างจากดวงอาทิตย์ ไว้เพื่อรักษาอุณหภูมิบนผิวโลก จึงช่วยให้อากาศเหมาะสมกับการหายใจ และดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต บรรยากาศจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ชั้นดังนี้
มีความสูงตั้งแต่ 600-10,000 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้เจือจางมาก จนไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน และฮีเลียม ไม่มีรอยต่อที่ชัดเจน ระหว่างบรรยากาศกับอวกาศ มีอุณหภูมิประมาณ 726 องศาเซลเซียส
มีความสูงตั้งแต่ 80-600 กิโลเมตร ชั้นนี้ยังมีก๊าซที่แตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า เรียกว่า ไอออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางชนิดได้ เราสามารถเรียกชั้นนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) ได้เช่นกัน โดยในชั้นนี้มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 227-1,727 องศาเซลเซียส
ชั้นนี้มีความสูงตั้งแต่ 50-80 กิโลเมตร เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ในชั้น โฮโมสเฟียร์ (Homosphere) โดยในชั้นนี้จะมีอุณหภูมิลดลง ตามระดับความสูง และมีโอโซนมาก แต่ในปัจจุบันมีน้อยลง เพราะปรากฏการณ์เรือนกระจก
ชั้นนี้มีความสูงตั้งแต่ 15-50 กิโลเมตร เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ในชั้นโฮโมสเฟียร์ (Homosphere) เป็นชั้นที่มีเสถียรภาพต่ำที่สุด อุณหภูมิจะคงที่ในระดับล่างของชั้น และจะค่อยๆสูงขึ้น ที่ระดับความสูง 20 กม. เป็นต้นไป
ชั้นนี้ไม่มีความแปรปรวนของสภาพอากาศ จึงเหมาะแก่การสัญจรของเครื่องบิน และโอโซนที่อยู่ในบรรยากาศ จะช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต
ชั้นนี้มีความสูงไม่เกิน 15 กิโลเมตร เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ในชั้นโฮโมสเฟียร์ (Homosphere) อุณหภูมิจะค่อยๆลดลง ตามระดับความสูงของชั้น เป็นชั้นที่มีปรากฏการณ์เกี่ยวกับสภาพอากาศ คือ ลม เมฆ พายุ และหิมะ
ระบบภูมิอากาศโลก ทำให้เกิด วัฏจักรน้ำ (The Water Cycle) เป็นวงจรหมุนเวียนการเปลี่ยนสภาพของน้ำ น้ำเหล่านี้เกิดการระเหยจากแม่น้ำ ทะเลสาบ ลำธาร ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เกิดการควบแน่น และตกลงมาเป็นฝน หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เราเรียกว่า วัฏจักรน้ำ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เราจะนับลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยศึกษาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และลม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น
การกระทำเหล่านี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ส่งผลต่อระบบนิเวศ การดำรงชีวิต ของสิ่งมีชีวิตบนโลก และการเปลี่ยนแปลงนี้ มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
สภาวะของบรรยากาศ เกิดความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในระยะเวลาสั้นๆ สามารถเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาระหว่างวัน ภาวะของลมฟ้าอากาศ อาจเกิดซ้ำๆในพื้นที่หนึ่ง เช่น การเกิดฝนตกในพื้นที่ลุ่มน้ำ อุณหภูมิที่สูงในพื้นที่แห้งแล้ง รวมถึงปรากฏการณ์อื่นๆ ที่มักเกิดขึ้นซ้ำๆ ในบางพื้นที่
หากลมฟ้าอากาศ เกิดขึ้นในพื้นที่หนึ่งซ้ำๆ เป็นระยะเวลายาวนานหลายปี นับ 10-20 ปี เราจะเรียกว่าเป็น สภาพภูมิอากาศ ของพื้นที่นั้นๆ เช่นในประเทศไทย มักจะมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดผลกระทบมากมาย โดยผลกระทบส่วนใหญ่เป็นผลกระทบในแง่ลบ ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ
วิธีศึกษาภูมิอากาศ ในปัจจุบัน เกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน รวมถึงจำนวนสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ข้อมูลเหล่านี้จะนำมาวิเคราะห์ ถึงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางแก้ไข และป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น
ระบบภูมิอากาศโลก ถือกำเนิดขึ้นมา พร้อมๆกับโลกของเรา เป็นสิ่งที่ห่อหุ้มโลกเอาไว้ ตั้งแต่ชั้นบรรยากาศ ไปจนถึง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เมื่อเวลาผ่านไป มนุษย์ได้ทำลายสมดุลของระบบภูมิอากาศโลก เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มนุษยชาติจะตระหนัก และช่วยกันรักษาโลกใบนี้เอาไว้
อัปเดตข่าวสารฉับไวทุกวัน ทุกเรื่องบนโลกใบนี้ ทุกข่าวสารใหม่ เนื้อหาเน้นๆ รู้ทันก่อนใคร ติดตามได้ที่พาตะลอน