เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม การเดินทางข้ามเวลาของวิดีโอเกม

เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม

เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม เรื่องราวของ ประวัติศาสตร์เกม ประวัติการกำเนิดเกม ย้อนรอยการกำเนิดวิดีโอเกม กับการ พัฒนาวิดีโอเกม ถูกต่อยอดนวัตกรรมเกม จนกลายมาเป็นวิดีโอเกมที่ล้ำสมัยในยุคปัจจุบัน เรื่องราวเป็นมาอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกับ พาตะลอน ลายแทงความรู้

เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม ยุคเริ่มต้นของวิดีโอเกม

เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม ยุคเริ่มต้นวิดีโอเกม ค.ศ. 1947-1980 เป็นยุคที่มีการเริ่มคิดค้น เกมอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเล่นในเครื่องครั้งแรก ในยุคนี้ยังเป็นเกมอย่างง่าย ที่ยังไม่มีความซับซ้อนของเกมมาก

Cathode Ray Tube Amusement Device (ค.ศ.1947)

Cathode Ray Tube

เกมอิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบเครื่องแรก เป็นเกมจำลองยิงขีปนาวุธ สร้างโดย Thomas Toliver Goldsmith Jr. และ Estle Ray Mann เป็นการใช้หลอดรังสีแคโทดทำงานร่วมกับวงจรแอนะล็อก

XOX / Noughts and Crosses [Tic-Tac-Toe] (ค.ศ.1952)

XOX

เกมคอมพิวเตอร์กราฟิกเกมแรก เป็นเกมโอเอ็กซ์ สร้างโดย Alexander Sandy Douglas ใช้คอมพิวเตอร์ EDSAC ในการประมวลผล และแสดงผลโดย oscilloscope’s cathode-ray tube

Tennis for Two (ค.ศ.1958)

Tennis for Two

เครื่องเล่นเกมเครื่องแรกของโลก เป็นเกมตีเทนนิสสร้างโดย William Higinbotham โดยนำก้านควบคุม (Joystick) มาใช้ควบคุมลูกเทนนิสในเกม

Spacewar (ค.ศ.1961)

Spacewar

เกมคอมพิวเตอร์ยุคแรก เป็นเกมควบคุมยานอวกาศ สร้างโดย Steve Sussell ใช้คอมพิวเตอร์ PDP-1 ในการประมวลผล

Brown Box (ค.ศ.1967)

Brown Box

เครื่องต้นแบบคอนโซลเกม สามารถตั้งโปรแกรมให้เล่นได้หลายเกมในเครื่องเดียวกัน สร้างโดย Ralph Bear ใช้โทรทัศน์ในการแสดงผล และมีตัวควบคุม 2 ตัวที่สามารถเล่นได้พร้อมกัน

Computer Space (ค.ศ.1971)

Computer Space

เครื่องเล่นเกมอาเขตเครื่องแรก สำหรับเล่นเกม Spacewar สร้างโดย Nolan Bushnell และ Ted Dabney ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก

Magnavox Odyssey (ค.ศ.1972)

Magnavox Odyssey

เกมคอนโซลเครื่องแรกของโลก สร้างโดย Ralph H. Bear ทำงานโดยไม่ใช้ CPU และ RAM ใช้โทรทัศน์ในการแสดงผล และเครื่องยังไม่มีเสียงเกม

Atari & Pong (ค.ศ.1972)

Atari & Pong

เกมอาเขต เป็นเกมจำลองตีปิงปอง สร้างโดยบริษัท Atari ก่อตั้งโดย Nolan Bushnell และ Ted Dabney ได้วางจำหน่าย Pong Home ที่ต่อเล่นกับโทรทัศน์ได้ที่บ้านในปี 1975

Fairchild Channel F (ค.ศ.1976)

Fairchild Channel F

เครื่องเล่นเกมเครื่องแรก ที่สามารถเปลี่ยนตลับเกมได้ และมีโหมดแข่งขันกับคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก สร้างโดยบริษัท Fairchild Semiconductor International, Inc ใช้ Microprocessor ในการประมวลผล

Color TV-Game 6 (ค.ศ.1977)

Color TV-Game

เกมคอนโซลที่บรรจุเกม Pong ไว้ 6 ชนิด สร้างโดยบริษัท Nintendo วางจำหน่ายเฉพาะในญี่ปุ่น ใช้โทรทัศน์ในการแสดงผล สามารถเล่นได้พร้อมกัน 2 คน ทำให้ได้รับความนิยมอย่างสูง

จุดเริ่มต้นยุคทอง ของตู้เกมอาเขต (ค.ศ.1978-1982)

Taito ตู้เกมอาเขตจากประเทศญี่ปุ่น ผู้สร้างเกม Space Invaders มีการเพิ่มระบบบันทึกคะแนนสูงสุด (Ranking) และการตอบโต้กับผู้เล่น ทำให้ตู้เกมอาเขตได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

Atari 2600 (ค.ศ.1978)

Atari 2600

Atari Video Computer System (VCS) เป็นเกมคอนโซลที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถเปลี่ยนตลับเกมได้ ใช้ CPU ความเร็ว 1.19 MHz พร้อมหน่วยความจำ 128 Bytes ในการประมวลผล

Microvision (ค.ศ.1979)

Microvision

เครื่องเล่นเกมแบบพกพาเครื่องแรกของโลก สร้างโดยบริษัท Milton Bradley สามารถบรรจุเกมหลายเกม ไว้ในตัวเครื่อง แสดงผลโดยใช้หน้าจอแบบ LCD ขนาด 16×16 พิกเซล

Game & Watch (ค.ศ.1980)

Game & Watch

เครื่องเล่นเกมแบบพกพา ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเกมได้ สร้างโดยบริษัท Nintendo ใช้หน้าจอสองสีในการแสดงผล และแหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่

เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม ยุคแห่งการพัฒนาวิดีโอเกม

เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม ยุคพัฒนาวิดีโอเกม ค.ศ. 1983-1999 ถือเป็นยุคถัดมา ที่เริ่มมีการพัฒนาวิดีโอเกมมากขึ้น เนื่องจากการมาของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ล้ำหน้าอย่างก้าวกระโดด ในยุคนี้จะเริ่มมีเครื่องเล่นวิดีโอเกม ที่สามารถบันทึกเกมได้หลากหลายเกมมากกว่าในอดีต

วิกฤตการณ์วิดีโอเกม (ค.ศ.1983)

ปลายปี 1983 ตลาดเกมเต็มไปด้วยเกมไม่มีคุณภาพ หลายเกมยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า อีกทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้บริษัทเกมหลายแห่งในสหรัฐฯล้มละลาย

Famicom (ค.ศ.1983)

Famicom

เกมคอนโซล 8 Bit สร้างโดยบริษัท Nintendo วางจำหน่ายในอเมริกา และยุโรปในชื่อ Nintendo Entertainment System : NES มีตัวควบคุม เล่นพร้อมกัน 2 คน และต่อมาเกิดซีรีส์เกมที่ได้รับความนิยมต่อเนื่อง

Atari 7800 (ค.ศ.1986)

Atari 7800

เกมคอนโซลที่สร้างขึ้นในปี 1984 จำหน่ายพร้อมเปิดตัว Joystick ในปี 1986 สามารถใช้ร่วมกับตลับเกม Atari 2600 ได้ จึงได้รับความนิยมอีกครั้ง

PC Engine หรือ TurboGrafx-16 (ค.ศ.1987)

PC Engine

เกมคอนโซล 16 bit แสดงผลได้ 482 สี สร้างโดยบริษัท Hudsin Soft ร่วมกับ NEC (Nippon Electric Company) และใช้สื่อบันทึกเกมชนิดใหม่ที่เรียกว่า HuCard หรือ TuboChip ในอเมริกา

Sega Mega Drive (ค.ศ.1988)

Sega Mega Drive

เกมคอนโซล 16 bit เครื่องแรกของบริษัท SEGA เป็นเครื่องที่ทำให้ตัวละครอย่าง Sonic the Hedgehog สวยงามมีชีวิตชีวา และเป็นยุคที่เกมคอนโซลมีการแข่งขันสูง

Game Boy (ค.ศ.1989)

Game Boy

เครื่องเล่นเกมแบบพกพาเครื่องแรกของบริษัท Nintendo แสดงผลด้วยจอ dull green dot-matrix และแบตเตอรี่ 35 ชั่วโมง เป็นจุดกำเนิดของเกมซีรีส์อย่าง Pokemon

Neo Geo AES (ค.ศ.1990)

Neo Geo AES

เกมคอนโซล 24 bit สร้างโดยบริษัท SNK ประเทศญี่ปุ่น เป็นเกมที่มีหน่วยประมวลผลกราฟิก และเสียงคุณภาพสูง แยกออกจากกันโดยเฉพาะ ทำให้เครื่องมีราคาสูงมาก จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

Sony PlayStation (ค.ศ1994)

Sony PlayStation

เกมคอนโซล 32 bit สร้างโดยบริษัท Sony Computer Entertainment เป็นเครื่องที่ใช้สื่อบันทึกเกมแบบ CD มีการแสดงผลภาพแบบ 3 มิติ และระบบเสียงแบบ Hi-Fi สายการผลิตยาวนานที่สุดถึง 11 ปี

Nintendo 64 (ค.ศ.1996)

Nintendo 64

เกมคอนโซล 64 bit เป็นเครื่องเล่นเกมรุ่นที่สามของบริษัท Nintendo ใช้สื่อบันทึกเกมแบบตลับความจุ 4-64 MB ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตเกม ซึ่งเปลี่ยนไปใช้แบบ CD-ROM แทน

Nokia & Snake (ค.ศ.1997)

Nokia & Snake

เกมโทรศัพท์มือถือ ที่เรารู้จักกันในนาม เกมงู เป็นเกมที่ถูกบรรจุอยู่ในโทรศัพท์ Nokia ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดกระแสการพัฒนาเกมลงบนโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง

Dreamcast (ค.ศ.1999)

Dreamcast

เกมคอนโซลเครื่องแรกที่สามารถเล่นเกมในระบบออนไลน์ ได้สร้างโดยบริษัท SEGA โดยมีโมเด็ม 56k สำหรับต่ออินเทอร์เน็ต มีช่องใส่ Memory Unit และใช้สื่อบันทึกแบบ GD-ROM เอกสิทธิ์เฉพาะของ SEGA

เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม ยุคแห่งเทคโนโลยีวิดีโอเกมล้ำยุค

เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม ยุคแห่งเทคโนโลยีวิดีโอเกม ค.ศ. 2000-ปัจจุบัน เป็นยุคที่มีความทันสมัยของเครื่องเล่นเกม และมีการเติบโตของอุตสาหกรรมเกมสูง เราจะได้พบกับอุปกรณ์เล่นเกมล้ำยุคอย่าง Nintendo switch,  PS5 เครื่องเล่นเกมระบบ VR และอื่นๆ

PlayStation 2 (ค.ศ.2000)

PlayStation 2

เกมคอนโซลที่สามารถเล่นสื่อได้ทั้ง CD และ DVD สร้างโดยบริษัท Sony Computer Entertainment โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอภาพ และเสียงที่คมชัดยิ่งขึ้น

Nintendo GameCube (ค.ศ.2001)

Nintendo GameCube

เกมคอนโซลที่มีชื่อย่อว่า GC หรือ NGC รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ใช้สื่อบันทึก DVD ขนาดเล็ก ทำให้มีข้อจำกัดในการบีบอัดข้อมูล จึงไม่เป็นที่นิยมของผู้เล่นเกมมากนัก

Microsoft Xbox (ค.ศ.2001)

Microsoft Xbox

เกมคอนโซลเครื่องแรกของบริษัท Microsoft สามารถเล่นสื่อได้ทั้ง CD และ DVD สามารถเล่นเกมในระบบออนไลน์ได้ มีหน่วยความจำ 64 MB และการแสดงผลแบบ DirectX

N-Gage (ค.ศ.2003)

N-Gage

โทรศัพท์มือถือสำหรับเล่นเกม สร้างโดยบริษัท Nokia มีระบบเกมสามมิติ ที่สามารถเปลี่ยนตลับเกมได้ แยกระบบเสียงระหว่างเสียงสนทนากับเสียงเกม (IHF Speaker) และตัวเครื่องถูกออกแบบในการถือแบบ Joystick เพื่อความสะดวกในการเล่นเกม

Steam (ค.ศ.2003)

แพลตฟอร์มร้านค้าดิจิทัลของเกมคอมพิวเตอร์ ที่เป็นจุดเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขายเกม สร้างโดยบริษัท Valve โดยผู้ซื้อต้องดาวน์โหลดเกมผ่านอินเทอร์เน็ต จนในปัจจุบันเป็นที่นิยมบนเครื่องเกมคอนโซลด้วย

PlayStation Portable [PSP] (ค.ศ.2004)

PlayStation Portable [PSP]

เครื่องเล่นเกมแบบพกพา สร้างโดยบริษัท Sony Computer Entertainment หน้าจอ LCD แสดงภาพกราฟิกความละเอียดสูง มีการเชื่อมต่อ Wi-Fi สื่อบันทึกเกมเป็น Universal Media Disc (UMD)

Nintendo DS (ค.ศ.2004)

Nintendo DS

เครื่องเล่นเกมแบบพกพา มีหน้าจอคู่พร้อมระบบ Touch Screen เชื่อมต่อ Wireless LAN สำหรับการแชทและเล่นเกมออนไลน์ สื่อบันทึกเกมเป็นตลับขนาดเล็ก

Xbox 360 (ค.ศ.2005)

Xbox 360

เกมคอนโซลใช้หน่วยประมวลผล Power PC ของ IBM ซึ่งใกล้เคียงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน ซึ่งสามารถดูหนัง ฟังเพลง และเล่นเกมแบบ Multiplayer ผ่านระบบออนไลน์ได้

Wii (ค.ศ.2006)

Wii

เกมคอนโซลสร้างโดยบริษัท Nintendo เครื่องเล่นเกมที่ใช้ตัวตรวจจับการเคลื่อนไหวของ Joystick ในการเล่นแทนการกดปุ่มธรรมดา (Wii Remote)

PlayStation 3 (ค.ศ.2006)

PlayStation 3

เกมคอนโซลที่มีหน่วยเก็บข้อมูลภายในเครื่อง (Hard Disk) ผลิตโดยบริษัท Sony Computer Entertainment สามารถเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง และรองรับการซื้อขายเกมในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

App Store and Google Play (ค.ศ.2008)

แพลตฟอร์มสำหรับซื้อขาย และดาวน์โหลดเกมหรือแอปพลิเคชันบนมือถือ ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยมี App Store สำหรับ iOS และ Google Play สำหรับ Android

Launching of Cloud Gaming (ค.ศ.2009)

ระบบการให้บริการเช่า หรือซื้อขายเกมโดยการส่งสัญญาณภาพของเกม ผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ไปยังผู้เล่นโดยไม่ต้องติดตั้งตัวเกมในเครื่องของผู้เล่น ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับเล่นเกม

Wii U (ค.ศ.2012)

Wii U

เกมคอนโซลที่มีหน้าจอ Touch Screen บน Joystick สร้างโดยบริษัท Nintendo มีเทคโนโลยี NFC (Near Field Communication) ในการเชื่อมต่อไร้สายกับอุปกรณ์ต่างๆ

PlayStation 4 (ค.ศ.2013)

PlayStation 4

เกมคอนโซลที่ผสมผสาน Social Media กับการเล่นเกม โดยผู้เล่นต้องมีบัญชีในการเล่นเกมเพื่อแชร์กิจกรรมต่างๆบนอินเทอร์เน็ต เช่นการ Streaming การโพสเนื้อหาหรือรูปภาพ การชวนเพื่อนเล่นเกม เป็นต้น

Xbox One (ค.ศ.2013)

Xbox One

เกมคอนโซลโดยบริษัท Microsoft มีระบบ Multi-Tasking ทำให้สามารถเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง ในเวลาเดียวกัน และใช้ตัวจับการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า Kinect ในการเล่นเกม

Virtual Reality (ค.ศ.2014)

เทคโนโลยีความจริงเสมือน (VR) เป็นการสร้างภาพขึ้นมาในแว่นที่ผู้เล่นสวมใส่ และถูกนำมาใช้ในระบบแสดงผลของเครื่องเล่นเกม เช่น HTC Vive (2016), PlayStation VR (2016) เป็นต้น

Nintendo Switch (ค.ศ.2017)

Nintendo Switch

เครื่องเล่นเกมแบบพกพา ที่สามารถเชื่อมต่อกับโทรทัศน์ได้ โดยบริษัท Nintendo เรียกวิธีการออกแบบนี้ว่า Hybrid

PlayStation 5 และ Xbox One Series X I S (ค.ศ.2020)

PS5 and XOS

เกมคอนโซลที่มีหน่วยเก็บข้อมูลแบบ SSD และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รองรับการซื้อขายเกมแบบออนไลน์ รวมถึงการผสาน Social Media ในการแชร์กิจกรรมต่างๆกับเพื่อน

Razer Sensa HD Haptics (ค.ศ.2024)

เทคโนโลยีเสมือนจริงจากบริษัท Razer ที่ทำให้ผู้เล่นเกมสัมผัสความสมจริงจากการเล่นเกม ทั้งจากเสียง แรงสั่นสะเทือน โดยการแสดงทิศทางแบบ 360 องศา ซึ่งจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างเก้าอี้ หูฟัง ใช้งานร่วมกับคอนโซลเกม

สรุป เจาะประวัติศาสตร์ วิดีโอเกม

วิดีโอเกม มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนั้น ตั้งแต่การกำเนิดเครื่องเล่นเกมอย่างง่าย พัฒนาเรื่อยมาตาม เทคโนโลยีอนาคต เปลี่ยนโลก จนกลายมาเป็นวิดีโอเกมที่ทันสมัยที่สุด ที่เราได้เห็นกันในปัจจุบัน และในวงการ วิทยาศาสตร์วิดีโอเกม ก็ยังคงพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีหยุดยั้ง เราจะได้พบการเล่นเกมในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในทิศทางไหน คงต้องติดตามกันต่อไป

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง