พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์ บนผืนแผ่นดินทองของไทย

พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์

พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์ หรือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงศึกษาวิทยาศาสตร์ ในยุคสมัยที่ยังไม่มีความแพร่หลาย ในราชสำนักไทย จนเข้าใจแตกฉาน แล้วจึงนำเอาความรู้นั้น มาปรับใช้ เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์ กับการสถาปนาเวลาไทย

จากเรื่องราว ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย ด้วยความสนพระทัย ในด้านวิทยาศาสตร์ จึงได้มีการวางรากฐานสำคัญ ในเรื่องการศึกษา การค้นคว้าเกี่ยวกับการนับเวลาใหม่ ให้กลายเป็นแบบสากล และการคำนวณเวลา ที่พระองค์มุ่งมั่นศึกษา ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ

เมื่อพระองค์เข้าใจศาสตร์ เข้าถึงศาสตร์แต่ละแขนงอย่างถ่องแท้ จึงได้นำเอาความรู้ มาคิดวิธีปรับใช้แบบ กลยุทธ์แห่งปราชญ์ ในราชสำนักไทย หรือสยามกาลนั้น จนกลายเป็นการสถาปนาวิทยาศาสตร์ ในอาณาจักรสยามหลายด้าน มีเนื้อหาใจความดังนี้

สถาปนาเวลามาตรฐาน ที่แผ่นดินสยามครั้งแรก

การนับเวลาในอดีตยังขาดความแม่นยำ ในสมัยก่อนใช้การนับเวลาจากพระอาทิตย์ ที่มีความคลาดเคลื่อนสูง ไปตามฤดูกาลที่เปลี่ยนผ่าน ช่วงเวลากลางวันในหน้าร้อน จะสั้นกว่าในหน้าหนาว จึงเป็นเหตุให้ตระหนักถึงการนับเวลา ที่ควรมีความแม่นยำมากขึ้น

พระมหากษัตริย์ยอดนักวิทยาศาสตร์ ท่านทรงเห็นความสำคัญของระบบเวลา ที่มีผลต่อกิจกรรมต่างๆ ของราชสำนัก และประชาชน สิ่งที่เป็นหน่วยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์นี้ จะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าในการทำกิจกรรมทั้งหลาย รวมถึงปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

สร้างพระที่นั่งภูวดลทัศนัย หอนาฬิกาแห่งแรกในสยาม

พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์

พระที่นั่งภูวดลทัศนัย หรือเรียกอีกชื่อว่า หอนาฬิกาหลวง เป็นหอนาฬิกาแห่งแรกในไทย ใช้เป็นสถานที่บอกเวลา ซึ่งได้รับการรักษาเวลาอย่างแม่นยำ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นที่พระบรมมหาราชวัง ที่เป็นสถานพํานัก ของพระองค์เอง

ตัวหอนาฬิกานี้ มีนาฬิกาบอกเวลาทั้ง 4 ด้าน และมีพนักงานรักษาเวลาให้ตรงอยู่เสมอ ผู้รักษาเวลาคือ พันทิวาทิตย์ คอยเทียบเวลาตอนกลางวัน และ พันพินิตจันทรา คอยเทียบเวลาตอนกลางคืน

การเทียบเวลาจะมีหลักการคือ สังเกตปรากฏการณ์ท้องฟ้า ในพระบรมมหาราชวัง และทรงกำหนดเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก เพื่อใช้สำหรับเป็นเส้นแวงหลัก สำหรับเทียบเวลา ไว้ที่หอชัชวาลเวียงชัย พระนครศีรี จังหวัดเพชรบุรี

พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์ กับดาราศาสตร์ในสยาม

นอกจากในเรื่องตัวเลข การคำนวณเรื่องของเวลา เพื่อปรับปรุงการนับเวลาให้ดีขึ้นแล้ว พระองค์ยังสนพระทัยในเรื่อง ดาราศาสตร์ ที่เป็นความรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ทำให้เกิดการสร้าง ปฏิทินรูปแบบใหม่ของสยาม และการสร้างหอดูดาวอย่างเป็นทางการ

สร้างหอสังเกตปรากฏการณ์ท้องฟ้า ตามหลักดาราศาสตร์ยุคใหม่

พระองค์ทรงตระหนัก ในความสำคัญ และความเชื่อมโยงปรากฏการณ์บนท้องฟ้า กับพิกัดทางภูมิศาสตร์ การทำแผนที่ และการเดินทางไกล ข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางกลยุทธ์ รวมถึงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสยาม ณ กาลนั้น

พระองค์จึงได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปยังสถานที่ต่างๆ พร้อมกับทำการบันทึกพิกัด ทางภูมิศาสตร์ตามแบบสากลไว้มากมาย ทรงคำนวณตำแหน่งละติจูด ลองจิจูด ด้วยตัวพระองค์เอง และสร้างหอสังเกตปรากฏการณ์ท้องฟ้าหลายแห่ง

พัฒนาปฏิทินจันทรคติ ให้มีความแม่นยำมากกว่าที่เคย

ปฏิทินจันทรคติ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อกำหนด วันธรรมสวนะ ในรูปแบบจันทรคติ โดยใช้การคำนวณจัดระเบียบ วันขึ้น – แรม ตามปฏิทินจันทรคติ ให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์จริง ของพระจันทร์กึ่งดวง เต็มดวง และดับจริง อย่างแม่นยำ

ปฏิทินรูปแบบนี้ จะอาศัยการสังเกต และอิงจากดวงจันทร์เป็นหลัก เพื่อกำหนดวันเวลา ช่วงข้างขึ้น ข้างแรม ในปัจจุบันถูกใช้ในการนับวันทางศาสนา และเปลี่ยนมาใช้ ปฏิทินสุริยจันทรคติ ที่มีการใช้งานกว้างขวาง และเป็นสากลมากกว่า

ปฏิทินปักขคณนา ปฏิทินแห่งสยามในยุคเริ่มแรก

พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์

ปฏิทินปักขคณนาในสยาม คือปฏิทินที่ถูกพัฒนาขึ้น โดยอาศัยหลักการ วิทยาศาสตร์ เพื่อคำนวณการเคลื่อนที่ ของดวงจันทร์ครึ่งเดือน ช่วงข้างขึ้น และครึ่งเดือนช่วงข้างแรม ให้ตรงตามการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์อย่างแท้จริง

ปฏิทินปักขคณนามีความแม่นยำ ที่สูงมากกว่าการนับวันในอดีต มีการใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 มาจนถึงปัจจุบัน โดยในปัจจุบันจะมีการใช้เฉพาะ คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ด้วยการวางรากฐานการเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์

วางรากฐาน การเก็บข้อมูลแบบวิทยาศาสตร์ในสยาม

การเก็บข้อมูล ถือเป็นสิ่งสำคัญที่มีมาในสมัยก่อน การเก็บข้อมูลที่ดี มีความแม่นยำ จะช่วยให้การนำข้อมูลไปใช้ ได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เที่ยงตรงขึ้น ดังนั้นพระองค์จึงให้ความสำคัญกับ วิธีการเก็บข้อมูลแบบวิทยาศาสตร์

ทรงนำเอาแนวทางการบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ที่เป็นระบบระเบียบ เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการบ้านเมือง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจดบันทึกบัญชีฝน ที่ตกลงมาเป็นเวลาติดต่อกัน ยาวนานถึง 45 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2389 จนถึงปี พ.ศ. 2433

ทรงเรียกบันทึกของพระองค์ว่า “จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน” และในจดหมายเหตุนี้ ยังได้ทรงบันทึกเหตุการณ์บ้านเมือง ในเรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญเอาไว้ด้วย นับเป็นจดหมายเหตุทางประวัติศาสตร์ ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง

วางรากฐานการสื่อสารวิทยาศาสตร์กับสังคม

ทรงใช้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ ศึกษา และวิเคราะห์ เรื่องราวมากมายอย่างมีระบบ แล้วทำการสื่อสารข้อมูลเหล่านั้น กับพสกนิกรของพระองค์ ให้รับรู้เพื่อเตรียมรับมือกับกระแสของชาติตะวันตก ที่กำลังรุกคืบสู่แผ่นดินสยาม

ทรงออกประกาศแจ้งข่าวสาร แก่ประชาชนหลายฉบับ ด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เอง เพื่อให้ประชาชนทราบข่าวสาร ความรู้ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น การเกิดสุริยุปราคา และการเกิดโรคระบาด

สรุป พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์ ผู้เปิดโลกใบใหม่ในสยาม

พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์ ได้ทรงเปิดรับความรู้จากชาวต่างชาติ โดยไม่ยึดติดกับความเชื่อดั้งเดิม ที่มองว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อาจขัดแย้งกับศาสนา จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สร้างผลกระทบในแง่บวก ต่อการพัฒนาสยามสืบมา

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง