ประวัติของเหล่าผู้บุกเบิก บุคคลสำคัญผู้เปลี่ยนโลก

ประวัติของเหล่าผู้บุกเบิก

ประวัติของเหล่าผู้บุกเบิก ในพาร์ทที่ 2 จะมากล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก ที่ค้นพบเรื่องราวใหม่ กลายเป็นจุดเริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในวงการวิทยาศาสตร์ของโลก ส่งผลให้มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีตามมา

ประวัติของเหล่าผู้บุกเบิก จากประเทศอังกฤษ

ประวัติศาสตร์เหล่าผู้บุกเบิก จากประเทศอังกฤษเป็นอีกสถานที่ ที่มีนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ในสัดส่วนที่มากไม่แพ้ประเทศใหญ่อย่างอเมริกา เนื่องจากในสมัยก่อน ประเทศอังกฤษ ถือเป็นประเทศผู้นำในด้านเทคโนโลยี ที่เคยก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

เจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริกค์ (พ.ศ.2496)

เจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริกค์

นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เจมส์ วัตสัน) กับนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ (ฟรานซิส คริกค์) ค้นพบโครงสร้างของโมเลกุล DNA ซึ่งพบว่าเป็นสารถ่ายทอดพันธุกรรมลักษณะเป็นเกลียวคู่

บรรดาโมเลกุล DNA เหล่านี้ที่อยู่ในเซลล์ แบ่งตัวขยายออกไป เมื่อสิ่งมีชีวิตถือกำเนิด บรรดาเซลล์ต่างๆจะมี DNA ที่เป็นพิมพ์เดียวกับพ่อแม่ เพราะฉะนั้นจึงถ่ายทอดเอกลักษณะต่างๆมาด้วย

อลัน เทอริง (พ.ศ.2455-2497)

อลัน เทอริง

เขาเกิดที่อังกฤษ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ในสาขาคณิตศาสตร์ ในปี พ.ศ.2480 เขาเขียนบทความกล่าวถึงเครื่องมือการคำนวณในเชิงทฤษฎี ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหา โดยผ่านลำดับของขั้นตอนเป็นขั้นๆ แนวความคิดของเขากลายเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ดิจิตอลในช่วง พ.ศ.2483-2493

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาทำงานที่โรงเรียนการรหัสลับของรัฐบาลอังกฤษ ณ เมืองเบล็ตชลีย์ โดยรับหน้าที่ถอดรหัสลับของฝ่ายศัตรู ภายหลังสงคราม เขาทำงานในโครงการต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณระบบดิจิตอล โดยตอนแรกอยู่กรุงลอนดอน และต่อมาย้ายไปที่เมืองแมนเชสเตอร์

เจน กูดัลล์ (พ.ศ.2477)

เจน กูดัลล์

เกิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อเธอออกจากโรงเรียนแล้ว เธอทำงานเป็นเลขานุการ ก่อนจะเดินทางไปแอฟริกา เพื่อทำงานเป็นผู้ช่วย ของนักมานุษยวิทยาชื่อ หลุยส์ เลคคีย์ ในพ.ศ.2503 เธอตั้งค่ายพักขึ้น ที่เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่า กอมเบ สตรีม เกม รีเสิร์ฟ

เพื่อเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลิงชิมแปนซี ผลงานอันโดดเด่นของเธอ ได้รับการยอมรับใน พ.ศ.2508 เมื่อมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มอบปริญญาเอกแก่เธอ เธอยังอยู่ในแอฟริกาต่อจนถึง พ.ศ.2518

ประวัติของเหล่าผู้บุกเบิก จากนานาประเทศ

ประวัติของเหล่าผู้บุกเบิก ในบางประเทศที่อยู่ห่างไกล ไม่ได้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทียบเท่าในอังกฤษ หรืออเมริกา ก็อาจถือกำเนิดนักวิทยาศาสตร์ รุ่นบุกเบิกได้เช่นกัน

โดโรธี ฮอดจ์กิน (พ.ศ.2453-2537)

โดโรธี ฮอดจ์กิน

เกิดที่อียิปต์ เป็นคนเชื้อชาติอังกฤษ ศึกษาเคมีที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และเคมบริดจ์ในช่วง พ.ศ.2473-2492 เธอศึกษาโครงสร้างของโมเลกุลทางชีววิทยา โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยรังสีเอกซ์

พ.ศ.2507 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี สำหรับผลงานการศึกษาโครงสร้างของวิตามินบี 12 เธอเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ระหว่าง พ.ศ.2520-2523

ลิเซ ไมต์เนอร์ (พ.ศ.2421-2511)

ลิเซ ไมต์เนอร์

เกิดที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย เธอศึกษาที่เบอร์ลินกับ มักซ์ พลังค์ จากนั้นก็ทำงานบุกเบิกในด้านฟิสิกส์อะตอมเรื่อยมา เธอมีบทบาทสำคัญในการค้นพบกระบวนการแตกตัว ของยูเรเนียมในปี พ.ศ.2481

เนื่องจากเธอเป็นยิว เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เธอจึงต้องออกจากเยอรมนี ซึ่งเวลานั้นปกครองโดยพวกนาซี ครั้งแรกที่เธอไปตั้งรกรากในสวีเดน และต่อมาก็ย้ายไปอยู่ที่อังกฤษ

คาร์ล พ็อบเพอร์ (พ.ศ. 2445-2537)

คาร์ล พ็อบเพอร์

เกิดที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย ทำงานอยู่กับ อัลเฟรด อัลเลอร์ จิตแพทย์ชื่อดัง ก่อนจะอพยพไปอยู่ที่นิวซีแลนด์ใน พ.ศ.2480-2488 เขาย้ายไปประจำที่ ลอนดอน สคูลออฟอีโคโนมิกส์ ประเทศอังกฤษ เขาเขียนงานด้านปรัชญาวิทยาศาสตร์เอาไว้มากมาย

เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีตรรกวิทยาบนพื้นฐาน ของข้อสรุปที่ว่านักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางอยู่ตลอดเวลา เพื่อทดสอบสมมุติฐานต่างๆ ด้วยวิธีพิสูจน์ให้เห็นว่าสมมุติฐานเหล่านี้ผิด เขามีความเชื่ออย่างมุ่งมั่น ในเรื่องความสำคัญของเสรีภาพ ทั้งเสรีภาพในทางการเมือง และในทางวิทยาศาสตร์

แมรี คูรี (พ.ศ.2410-2477)

แมรี คูรี

เกิดที่กรุงวอซอว์ ประเทศโปแลนด์ ณ เวลานั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย หลังสำเร็จการศึกษาที่กรุงปารีส เธอก็เริ่มวิจัยเรื่องกัมมันตภาพรังสี ซึ่งอองรี แบ็กเกอแรล ค้นพบในปี พ.ศ.2439

เธอร่วมทำงานกับเรเดียม เธอเป็นผู้หญิงคนแรก ที่ได้เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และได้รับรางวัลโนเบล 2 รางวัล ในช่วงปี 2460 เธอหันมาค้นคว้าวิธีนำกัมมันตภาพรังสี มาใช้ในทางการแพทย์

ยูริ กาการิน (พ.ศ.2477-2511)

ยูริ กาการิน

เกิดใกล้กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ขณะศึกษาที่วิทยาลัยอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง เขาได้รับคัดเลือกให้เข้าฝึกอบรมเป็นนักบิน และต่อมาก็เข้าประจำการในกองทัพอากาศโซเวียต ปีพ.ศ.2504 เขาเป็นมนุษย์คนแรก ที่โคจรรอบโลกได้สำเร็จ เขาได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งตำแหน่ง “วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต”

คริสเตียน บาร์นาร์ด (พ.ศ.2465-2544)

คริสเตียน บาร์นาร์ด

เขาเกิดที่แอฟริกาใต้ ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในสหรัฐอเมริกา เขาได้นำวิธีผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ไปเผยแพร่ในแอฟริกาใต้ พ.ศ.2510 เขาเป็นหัวหน้าคณะศัลยแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ให้คนไข้เป็นรายแรกของโลก ณ โรงพยาบาล กรูต เซอร์ เมืองเคปทาวน์

สรุป ประวัติของเหล่าผู้บุกเบิก

ประวัติของเหล่าผู้บุกเบิก ทางวิทยาศาสตร์นั้น ก็มีอยู่บนโลกนี้หลายร้อย หลายพันคน บางคนอาจจะสร้างตำนานเอาไว้ ให้จารึกชื่อจนถึงปัจจุบัน แต่นักวิทยาศาสตร์อีกหลายคน ก็อาจไม่ได้โด่งดัง หรือถูกจดจำเอาไว้ ถึงอย่างไรก็ตาม พวกเขาทุกคน ก็ล้วนมีส่วนในการเปลี่ยนแปลง พัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ ให้เดินหน้าพัฒนาต่อไป

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง