ประวัติค้นพบโลกและอวกาศ ความลึกลับแห่งจักรวาล

ประวัติค้นพบโลกและอวกาศ

ประวัติค้นพบโลกและอวกาศ เป็นอีกหนึ่งเรื่องราว ประวัติศาสตร์อวกาศ ที่ พาตะลอน อยากจะนำเสนอ เพราะถือเป็นการเปิดโลกภายนอกของจักรวาล ที่มีความลึกลับมากมาย บทความนี้เป็นการค้นพบที่คล้ายกับหัวข้อ ประวัติการค้นพบสสาร และ ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเรา

ไทม์ไลน์ ประวัติค้นพบโลกและอวกาศ

ประวัติค้นพบโลกและอวกาศ เริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์ เริ่มสำรวจสิ่งต่างๆนอกโลก ทั้งจากการสำรวจผ่านกล้องขนาดใหญ่ หรือจากการส่งยานสำรวจออกไปนอกโลก ประวัติค้นพบโลกและอวกาศ มีเรื่องราวที่น่าสนใจดังนี้

ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ (The NEAR Shoemaker) (พ.ศ.2543)

ยานเนียร์ชูเมกเกอร์

ยานลำนี้ เป็นหนึ่งในโครงการดิสคัฟเวอรี (Discovery) ขององค์การบริหารการบิน และอวกาศแห่งชาติ หรือองค์การนาซา (NASA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นโครงการยานอวกาศทุนต่ำ ในการสำรวจด้านดาวเคราะห์

ได้สร้างประวัติศาสตร์เป็นยานลำแรก ที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อย ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 และเป็นยานอวกาศที่มนุษย์สร้างขึ้น และสามารถลงจอดบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย ได้เป็นครั้งแรก

ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด ในรอบประมาณ 60,000 ปี (พ.ศ.2546)

ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด

โดยอยู่ห่างกันประมาณ 56 ล้านกิโลเมตร ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคาร อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยเฉลี่ยจะเกิดขึ้นทุกๆ 2 ปี แต่ดาวอังคารมีวงโคจร เป็นรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ระยะห่างระหว่างโลกกับดาวอังคาร เข้าใกล้กันมากที่สุด

ยานอวกาศแคสสินี (The Cassini Spacecraft) (พ.ศ.2547)

ยานอวกาศแคสสินี

เป็นยานอวกาศลำแรก ที่เข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2547 โดยมีภารกิจสำรวจวงแหวน และดวงจันทร์ของดาวเสาร์ ในช่วงปี พ.ศ.2547-2560 ยานอวกาศแคสสินีของ องค์การนาซา ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติการที่เรียกว่า ฮอยเกนส์ โพรบ (Huygens Probe)

ยานสเปซชิปวัน (SpaceShipOne) (พ.ศ.2547)

ยานสเปซชิปวัน

เป็นยานอวกาศลำแรกที่ภาคเอกชนพัฒนาขึ้น ประสบความสำเร็จในการบินเข้าสู่ระยะความสูงประมาณ 112 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ด้วยความเร็วกว่า 3 มัค (Mach) และร่อนกลับลงสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2547

นับเป็นอีกหนึ่งโครงการเชิงพาณิชย์ ในการเดินทางไปในอวกาศ ที่เปิดโอกาสให้การเดินทางท่องเที่ยวในอวกาศ เป็นไปได้จริงในอนาคต

ยานฮอยเกนส์ (The Huygens Probe) (พ.ศ.2548)

ยานฮอยเกนส์

ลงจอดบนดวงจันทร์ไททัน ซึ่งเป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ได้อย่างปลอดภัย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2548 นับเป็นการลงจอดของยานอวกาศบนดินแดนห่างไกลที่สุด เท่าที่เคยมีมา ยานฮอยเกนส์ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) เป็นยานลูกที่เดินทางไปกับยานอวกาศแคสสินีของนาซา

ยานทั้ง 2 ออกเดินทางจากโลกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2540 และเข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2547 ชื่อยานทั้งสองลำมาจากชื่อนักดาราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่มีบทบาทในการศึกษาดาวเสาร์ และดาวบริวาร คือโจวานนี แคสสินี (Giovanni Cassini) ชาวอิตาลี และคริสเตียน ฮอยเกนส์ (Christiaan Huygens) ชาวดัตช์

ดาวพลูโต (Pluto) ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ (พ.ศ.2549)

ดาวพลูโตถูกปลด

ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ตามนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ที่ถูกกำหนดโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล โดยการประชุมของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก ประเทศเช็ก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2549

มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ว่า ต้องเป็นวัตถุทรงกลม ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และอยู่ห่างจากดาวรอบข้างในวงโคจรของตัวเอง ทำให้ระบบสุริยะคงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง และให้ถือว่าดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระ

ตรวจพบน้ำแข็งที่ดวงจันทร์ (พ.ศ.2551)

ตรวจพบน้ำแข็งที่ดวงจันทร์

ยานจันทรายาน-1 (Chandrayaan-1) ขององค์การวิจัยด้านอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) ตรวจพบน้ำแข็งอยู่ในก้นหลุมอุกกาบาตกว่า 40 แห่งของดวงจันทร์ โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า มินิซาร์ (MiniSAR) ซึ่งเป็นเครื่องตรวจจับเรดาร์ของนาซา ที่ติดไปกับจันทรายาน-1

คณะนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าน้ำแข็ง อาจมีความหนาหลายเมตร มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของหลุม ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 2-15 กิโลเมตร และอยู่ในพื้นที่ที่มืดมิดตลอดกาล โดยรวมแล้วคาดว่ามีน้ำมากถึง 600 ล้านตัน

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler Space Telescope) (พ.ศ.2552)

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์

เป็นกล้องโทรทรรศน์ของนาซา ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติภารกิจ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2552 กล้องโทรทรรศน์นี้ ตั้งชื่อตาม โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน มีภารกิจสำรวจหาดาวเคราะห์คล้ายโลก นอกระบบสุริยจักรวาล ภายในดาราจักรทางช้างเผือก ที่มีวงโคจรอยู่ในบริเวณที่สิ่งมีชีวิตอาศัยได้

ยานสำรวจเมสเซนเจอร์ (The MESSENGER Spacecraft) (พ.ศ.2554)

ยานสำรวจเมสเซนเจอร์

เป็นยานสำรวจของนาซา เข้าสู่วงโคจรและเดินทางรอบดาวพุธเป็นผลสำเร็จ โดยมีเป้าหมายเพื่อสำรวจองค์ประกอบทางธรณีวิทยา สนามแม่เหล็ก ลักษณะทางเคมี และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อช่วยให้เข้าใจการก่อกำเนิด และวิวัฒนาการของเอกภพ

ส่งขึ้นจากพื้นโลกเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2547 โดยชื่อ ยานเมสเซนเจอร์ MESSENGER ย่อมาจาก Mercury Surface, Space Environment, Geochemistry and Ranging Probe

เที่ยวบินของ สเปซเอ็กซ์ดรากอน (SpaceX Dragon Flight) (พ.ศ.2555)

สเปซเอ็กซ์ดรากอน

เป็นเที่ยวบินแรกของอากาศยาน ของบริษัทเอกชนที่นำส่งสินค้าขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติได้ และบินกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย ยานอวกาศขนส่งสินค้าดรากอน พัฒนาขึ้นโดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ ที่อีลอนมัสค์ เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น

ปลูกพืชบนสถานีอวกาศนานาชาติ (พ.ศ.2558)

ปลูกพืชบนสถานีอวกาศนานาชาติ

นักบินอวกาศประสบความสำเร็จในการปลูกพืชบนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station – ISS) โดยเป็นผักจำพวกผักกาดหอมใบแดง ซึ่งถูกปลูกในอุปกรณ์ที่เรียกว่า เว็จ-01 (Veg-01) และนำมาทำอาหารได้เป็นครั้งแรก

ภาพของหลุมดำยักษ์ (Supermassive Black Hole) (พ.ศ.2562)

ภาพของหลุมดำยักษ์

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2562 นักดาราศาสตร์เผยภาพ ที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope) เป็นภาพของหลุมดำยักษ์ ที่อยู่ใจกลางดาราจักรเมซีเย 89 (Messier 87) หรือ เอ็ม 87 นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายภาพของวัตถุชนิดนี้ได้โดยตรง

ภารกิจ อาร์ทีมิส 1 (Artemis 1 Mission) (พ.ศ.2565)

ภารกิจ อาร์ทีมิส 1

องค์การนาซา ได้ส่งจรวดออกนอกวงโคจรของโลก มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ ในภารกิจชื่ออาร์ทีมิส 1 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 นับเป็นการเริ่มต้นปฏิบัติการนำมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์อีกครั้ง หลังจากภารกิจอะพอลโล 17 (Apollo 17)

โครงการอาร์ทีมิส 1 นาซาได้ปล่อยจรวดรุ่นใหม่ที่มีชื่อย่อว่า เอสแอลเอส (Space Launch System – SLS) เพื่อนำยานโอไรออน (Orion Capsule) ออกจากวงโคจรโลก ก่อนพุ่งทะยานไปบินทดสอบวนรอบดวงจันทร์ เพื่อเตรียมนำมนุษย์อวกาศกลับไปเหยียบที่นั่นอีกครั้ง ภายใน 3-4 ปีข้างหน้า

สรุป ประวัติค้นพบโลกและอวกาศ

ประวัติค้นพบโลกและอวกาศ เป็นความก้าวหน้าในวงการวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ ทำให้มนุษย์เรานั้นรู้จักสิ่งต่างๆนอกโลกมากขึ้น ประวัติค้นพบโลกและอวกาศ ความก้าวหน้านี้จะเป็นตัวไขความลับต่างๆของจักรวาลต่อไป

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง