ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน ที่มีบทบาทต่อเทคโนโลยี

ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน

ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน หรือ ประวัติศาสตร์การค้นพบด้านพลังงาน เป็นเรื่องราวการค้นพบ พลังงาน ที่เข้ามาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่ ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เหมือนกับการค้นพบอื่นๆอย่าง ประวัติการค้นพบสสาร และ ประวัติการค้นพบสิ่งมีชีวิต

ไทม์ไลน์ ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน

ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ค้นพบพลังงานใหม่ๆ และได้นำพลังงานเหล่านั้น มาใช้ในกิจกรรม เช่นใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงของรถ รวมถึงพลังงานทดแทน พลังงานเหล่านี้ขับเคลื่อนการพัฒนาทาง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ

โตโยต้า พรีอุส (The Toyota Prius) (พ.ศ.2543)

โตโยต้า พรีอุส

ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน ในรถยนต์ช่วงแรก เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม ระหว่างเครื่องยนต์สันดาป กับแบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ ทำให้รถยนต์รุ่นนี้ประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และเป็นรุ่นแรกที่มีการผลิตขายในเชิงพาณิชย์ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

โตโยต้าเอฟซีเอช และ ฮอนด้าเอฟซีเอ็กซ์วี (พ.ศ.2543)

ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน

Toyota FCHV and Honda FCX ทั้ง 2 รุ่นเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิงหรือ Fuel Cell เริ่มมีให้เช่าขับในประเทศสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นรถยนต์แบบเซลล์เชื้อเพลิง เพื่อการพาณิชย์สองรุ่นแรกของโลก ที่รัฐบาลอเมริกาให้การรับรอง

เปิดตัวโครงการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (พ.ศ.2546)

ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเปิดตัวโครงการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมัน สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งสำหรับรถยนต์ รถบรรทุก บ้านพักอาศัย และภาคธุรกิจ

รถยนต์สปอร์ตแบบใช้ไฟฟ้า รุ่น Roadster (พ.ศ.2550)

Roadster

บริษัทเทสลามอเตอร์ บริษัทสตาร์ทอัพขนาดเล็กที่อยู่ในซิลิคอนวัลเล่ย์ สหรัฐอเมริกา ประกาศว่าสามารถผลิตรถยนต์สปอร์ตแบบใช้ไฟฟ้า รุ่น Roadster ที่วิ่งได้ระยะทางมากกว่า 200 ไมล์ หรือ 320 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง นับเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การใช้รถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ครั้งแรก

รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน รุ่นเอฟซีเอ็กซ์ แคลริตี้ (พ.ศ.2553)

เอฟซีเอ็กซ์ แคลริตี้

บริษัทฮอนด้าเปิดตัว รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รุ่นเอฟซีเอ็กซ์ แคลริตี้ (FCX Clarity) ซึ่งเป็นรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Vehicle) เชิงพาณิชย์รุ่นแรกของโลก ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนสมบูรณ์ ทั้งระบบโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่น

อุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์อย่างจริงจัง (The Solar Cell) (พ.ศ.2554)

รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนอุตสาหกรรม การผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์ อย่างจริงจัง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงเหลือประมาณ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัตต์ ส่งผลให้มีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเท่าตัว

ในช่วงเวลาเดียวกัน จีนสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อ ฮวงเฮอ ไฮโดรพาวเวอร์ โกลมุด โซลาร์พาร์ค (Huanghe Hydropower Golmud Solar Park) มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ถึง 200 เมกกะวัตต์

เขื่อนซานเสียต้าป้า (The Sanxia Dam) (พ.ศ.2555)

เขื่อนซานเสียต้าป้า

เขื่อนซานเสียต้าป้า หรือเขื่อนสามผา ที่กั้นขวางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถผลิตไฟฟ้าได้เทียบเท่ากับเตาปฏิกรณ์ปรมาณู 15 เครื่อง

ระบบผลิตไฟฟ้า ด้วยแสงอาทิตย์อิวานปาห์ (พ.ศ.2556)

อิวานปาห์

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์อิวานปาห์ (The Ivanpah Solar Power Facility) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าความร้อนแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในทะเลทรายโมฮาวี (Mojave Desert) ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

โรงไฟฟ้านี้ใช้การรวมความร้อนของแสงอาทิตย์ต้มน้ำ สร้างแรงดันไอน้ำขับเคลื่อนเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า มีความสามารถผลิตไฟฟ้าสูงสุด 392 เมกะวัตต์ ให้บริการจ่ายไฟฟ้าให้แก่บ้านเรือนได้ประมาณ 140,000 หลังคาเรือนต่อปี

รถยนต์ที่ใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (พ.ศ.2557)

มิไร

โตโยต้าผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อ “มิไร” ซึ่งแปลว่า อนาคต ในภาษาญี่ปุ่น รุ่น Mirai ได้รับการพัฒนาจากรถยนต์ต้นแบบ ที่เปิดตัวก่อนหน้านั้น

มีการออกแบบรูปทรง Droplet-Shaped เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าผลพลอยได้เพียงอย่างเดียวจากรถยนต์ ที่ใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนคือน้ำ

คอราเดีย ไอลินท์ (Coradia iLint) (พ.ศ.2561)

คอราเดีย ไอลินท์

รถไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจน มีการเปิดให้บริการรถไฟพลังงานไฮโดรเจนชื่อว่า คอราเดีย ไอลินท์ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศเยอรมนี

น้ำยาไฮโดรเจนพาวเวอร์เพสท์ (Powerpaste) (พ.ศ.2562)

พาวเวอร์เพสท์

ทีมวิจัยจากสถาบันฟรอนฮอฟเฟอร์ เพื่อเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต และวัสดุก้าวหน้า (Fraunhofer Institute for Manufacturing Technology and Advanced Meterials, IFAM) จากประเทศเยอรมนี ได้พัฒนาน้ำยาไฮโดรเจน พาวเวอร์เพสท์

เป็นน้ำยาที่ใช้งานง่าย และเหมาะกับยานพาหนะขนาดเล็ก เช่น มอเตอร์ไซต์ หรือสกูตเตอร์ ดร.มาคุส โวกต์ (Dr. Marcus Vogt) กล่าวว่าพาวเวอร์เพสท์อาจจะเป็นคำตอบ และพลังงานสำหรับอนาคต เพราะมีความหนาแน่นในการกักเก็บพลังงานมหาศาล มากกว่าแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนมากถึง 10 เท่า

ฟาร์มผลิตไฟฟ้า ฮอร์นซี วัน (The Hornsea Project 1) (พ.ศ.2563)

เป็นฟาร์มผลิตไฟฟ้า ในประเทศสหราชอาณาจักร ผลิตไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งทะเลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มผลิตไฟฟ้าจ่ายให้บริการแก่ประชาชน โดยผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,200 เมกะวัตต์ ให้บริการประชาชนมากถึง 1 ล้านหลังคาเรือน

โตโยต้ามิราอิ และฮุนได เน็กซ์โซ (Toyota Mirai and Hyundai Nexo) (พ.ศ.2564)

ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน

รถยนต์ที่ใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน จำหน่ายในตลาดโลกเพียง 2 รุ่น ส่วนฮอนด้า คลาริตี้ เลิกผลิตในปี พ.ศ.2564 เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานด้านเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์มีอยู่ไม่มาก เช่นในสหรัฐอเมริกา มีเพียง 50 สถานีเท่านั้น

กังหันลมผลิตไฟฟ้า แบบนอกชายฝั่งทะเลชนิด 14-222 DD (พ.ศ.2565)

กังหันลมผลิตไฟฟ้า

บริษัทซีเมนส์กาเมซา (Siemens Gamesa) ได้พัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีกังหันลมผลิตไฟฟ้า แบบนอกชายฝั่งชนิด 14-222 DD (Wind Turbine Technology, The 14-222 DD) ที่สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้มากถึง 359 เมกะวัตต์ชั่วโมง ในหนึ่งวัน

เทคโนโลยีพลังงานสู่อนาคต (พ.ศ.2567)

ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน ช่วยต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน สู่ยุคแห่งอนาคต เราจะเห็นการส่งเสริมพลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไปในปัจจุบันและอนาคต

สรุป ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน

ประวัติการค้นพบด้านพลังงาน ช่วยทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไป พลังงานเหล่านี้ถูกนำมาเป็นตัวขับเคลื่อนความสะดวกสบายของมนุษย์มากยิ่งขึ้น บางพลังงานอาจหมดไป แต่บางพลังงานก็ใช้ได้อย่างไม่จำกัด วิทยาศาสตร์ด้านพลังงาน ยังคงพัฒนาไปข้างหน้าต่อไปเรื่อยๆ ตราบใดที่โลกของเรายังไม่หยุดหมุน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง