กลยุทธ์แห่งปราชญ์ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในรัชกาลที่ 4

กลยุทธ์แห่งปราชญ์

กลยุทธ์แห่งปราชญ์ เป็นกลยุทธ์จาก ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เพื่อวางแผนพัฒนาประเทศ ในผืนแผ่นดินสยาม สิ่งที่ถูกเปลี่ยนไป มีรูปแบบของสังคม และเทคโนโลยี ที่ถูกรับเข้ามาจากภายนอก

กลยุทธ์แห่งปราชญ์ ด้านสังคม และการเมืองสยาม

ยุทธศาสตร์ด้านสังคม มีการปรับเปลี่ยนทางด้านสังคม วิถีชีวิต รวมถึงระบบการปกครองบางส่วนในรัฐสยาม ในช่วงเวลา พ.ศ. 2347 จนถึง พ.ศ. 2411 โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

บูรณาการศาสตร์ สร้างชาติให้เข้มแข็ง

กลยุทธ์แห่งปราชญ์

บูรณาการศาสตร์สร้างชาติ ทรงริเริ่มการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการนำเอาวิทยาการ ความรู้จากประเทศตะวันตก เข้ามาสู่สยาม เพื่อปรับใช้อย่างเต็มที่ ด้วยพระวิสัยทัศน์ และปรีชาญาณที่แตกฉานในศาสตร์หลายแขนง

พระองค์ทรงพิจารณาความรู้ และศาสตร์อย่างมากมาย บูรณาการเข้ากับความรู้ทางบริบทของสังคมสยาม ในเวลากาลนั้น สร้างให้เกิดการเรียนรู้ และยอมรับเพื่อความมั่นคงทางสังคม รวมถึงวินิจฉัยเลือกวิทยาการด้านที่สยามขาดแคลน

พระราชกุศโลบายด้านการต่างประเทศ

ท่ามกลางสถานการณ์รุกคืบ ของเหล่าชาติตะวันตก เพื่อแสวงหาทรัพยากรมีค่า จากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก สยามได้ตกเป็นเป้าหมายของมหาอำนาจ จากหลายชาติ พระองค์ทรงใช้ความมีวิสัยทัศน์ พระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถ

ที่มีความหลากหลายในตัวของพระองค์ ดำเนินพระราชกุศโลบาย เพื่อรับการเข้ามาของชาติตะวันตกอย่างชาญฉลาด อย่างเช่นการส่งคณะทูตแห่งสยาม ไปเยือนประเทศอังกฤษ กับฝรั่งเศส และการต่อรองทำสนธิสัญญาต่างๆ

ริเริ่มวางรากฐานสาธารณูปโภคสมัยใหม่

วางรากฐานสาธารณูปโภคสมัยใหม่ โดยให้ตัดถนน ที่สามารถใช้สัญจรได้ทุกฤดูเป็นครั้งแรก ถูกเรียกว่า “ถนนใหม่” หรือ “ถนนเจริญกรุงในปัจจุบัน” อีกทั้งยังมีการขุดคลอง เพื่อเชื่อมแม่น้ำหลายสายเข้าด้วยกัน ทำให้สะดวกในการคมนาคม และขนส่งดียิ่งขึ้น

ส่งผลต่อเนื่องให้ประชาชน เริ่มขยายบ้านเรือน ถิ่นฐาน ตามแนวแม่น้ำที่ถูกขุด กลายเป็นบ้านริมน้ำ ประชาชนสยามได้ใช้ประโยชน์จากน้ำ ทั้งอาบ กินดื่ม และใช้ในทางการเกษตร จนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่พัฒนาดีขึ้นเป็นวงกว้าง

ปฏิรูประบบเงินตราครั้งแรกในสยาม

ปฏิรูประบบเงินตราสยาม โดยให้ตั้งโรงกษาปณ์แห่งแรกของไทยขึ้น ในพระบรมมหาราชวัง ในปี พ.ศ. 2403 ชื่อว่า “โรงกระสาปน์สิทธิการ” และโปรดให้ออกเงินชนิดใหม่ เรียกว่า เงินแป หรือ เงินแบน ใช้แทน เงินกลม และ เงินพดด้วง

ต่อมา ในภาวะที่การค้ากับชาวต่างชาติ กำลังขยายตัวมากขึ้น โปรดให้มีการออกธนบัตรเป็นครั้งแรก โดยเรียกว่า หมาย กับใบพระราชทานเงินตรา สำหรับจ่ายเป็นเบี้ยหวัด แก่เหล่าข้าราชการ แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะเปื่อยยุ่ยง่าย จึงเลิกใช้ในปลายรัชกาล

ปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีในสยาม

ปรับปรุงขนบธรรมเนียมสยาม ให้พัฒนาอย่างเป็นรูปแบบสากลมากขึ้นดังนี้

  • เหล่าบรรดาเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ สวมเสื้อผ้าให้เรียบร้อยขณะเข้าเฝ้า
  • ยกเลิกการที่บ้านเรือน 2 ข้างทางต้องปิดประตู หน้าต่าง ขณะที่เสด็จพระราชดำเนินผ่าน
  • แก้ความเชื่อที่ว่า ใครก็ตามที่ถูกถ่ายภาพ จะอายุสั้นลง

กลยุทธ์แห่งปราชญ์ ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ในช่วงเวลานั้นยังมีการวางกลยุทธ์ ในด้าน การพัฒนาเทคโนโลยี ทางวิทยาศาสตร์ โดยรับเอาจากชาติตะวันตก เพื่อปรับใช้กับแดนสยาม ให้เกิดการพัฒนาในหลายด้านดังนี้

วางรากฐานกิจการงานสิ่งพิมพ์

กิจการงานสิ่งพิมพ์ เกิดขึ้นครั้งแรกในสยาม ทรงอุปถัมภ์หมอบรัดเลย์ ที่ได้ถวายการสอนภาษาอังกฤษ และทรงสั่งเครื่องพิมพ์มาไว้ที่วัดบวรนิเวศ ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นพระภิกษุ และให้แกะตัวพิมพ์ที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นมาเอง

เมื่อทรงขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับราชการ หนังสือสวดมนต์ และหนังสือเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนา

แนวทางรับเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่

เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ หรือความก้าวหน้าด้านการแพทย์แผนตะวันตก ถูกรับมาใช้ในประเทศสยาม เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ยังไม่สามารถชักจูงประชาชน ณ เวลานั้นได้ จึงโปรดให้มีการใช้การแพทย์ไทย กับแบบตะวันตกร่วมกัน

ทรงริเริ่มพัฒนากองทัพให้ทันสมัย

กลยุทธ์แห่งปราชญ์

พัฒนากองทัพสยามให้ทันสมัย จากการที่ชาติตะวันตกได้เข้ามา พร้อมกับความรู้ด้านการทหาร และกำลังอาวุธสมัยใหม่ที่น่าเกรงขาม เริ่มย่างกรายเข้าสู่สยาม ด้วยพระวิสัยทัศน์ พระปรีชาญานในการประเมินสถานการณ์

จึงทรงศึกษา เรียนรู้รับเอาวิทยาการ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากชาติตะวันตก เข้ามาปรับปรุงพัฒนากองทัพ ให้มีความทันสมัย มีระบบระเบียบ แบบแผน ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเก่า และเริ่มสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ได้เอง

สนับสนุนให้มีการต่อเรือกลไฟ และเรือรบด้วยตนเอง

การต่อเรือกลไฟ และเรือรบ แห่งประเทศสยามขึ้นครั้งแรก โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้รับเอาเทคโนโลยีการต่อเรือ พร้อมทั้งทำการศึกษาการต่อเรือกลไฟอย่างจริงจัง จนสามารถต่อเรือรบกลไฟแบบจักร ไว้ใช้เองได้หลายลำ

เรือกลไฟที่ถูกต่อขึ้นลำแรกคือ เรือสยามอรสุมพล เป็นเรือพระที่นั่งลำแรก ต่อมาคือ เรือศรีอยุธยาเดช เรือราญรุกไพรี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดำเนินการต่อเรือกลไฟ มาทดแทนเรือใบที่ใช้อยู่ก่อนหน้านั้น

สรุป กลยุทธ์แห่งปราชญ์ กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสยาม

กลยุทธ์แห่งปราชญ์ กับการเปิดประเทศเพื่อยอมรับชาวตะวันตก สร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางการทูต และรับเอาเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เข้ามาเผยแพร่ ปรับใช้ในแดนสยาม ได้เป็นจุดเริ่มต้นแห่งยุควิทยาศาสตร์ของไทย ทำให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนา มาจนถึงปัจจุบัน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง