เทคโนโลยีศิลปาชีพไทย หล่อหลอมวิถีชีวิตสู่เอกลักษณ์อันสวยงาม

เทคโนโลยีศิลปาชีพไทย

เทคโนโลยีศิลปาชีพไทย คือการส่งเสริมให้คนไทยในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในเขตชนบท ได้สร้างผลงานด้านศิลปะ ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานในไทย พาตะลอน จะพาไปดูกันว่าศิลปาชีพไทยมีอะไรบ้าง และมีความสำคัญต่อคนไทยอย่างไร

ความเป็นมาของ เทคโนโลยีศิลปาชีพไทย

ในปี พ.ศ. 2513 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่จังหวัดนครพนม ได้ทรงทอดพระเนตร หญิงชาวบ้านยากจน นุ่งซิ่นไหมมัดหมี่สวยงาม จึงมีพระราชดำริว่า ซิ่นไหมมัดหมี่ จะเป็นอาชีพเสริมรายได้แก่ชาวบ้าน

พ.ศ. 2519 มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เกิดขึ้นเพื่อดำเนินงานสร้างทางเลือกอาชีพ แก่ราษฎรในยามว่าง จากงานในไร่นาด้วยงานหัตถกรรม เช่น ทอผ้า แกะสลัก จักสาน ฯลฯ ต่อมาจึงได้ก่อตั้ง โรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา เป็นสถานที่ฝึกสอนงานประณีตศิลป์

ซึ่งต่อมาได้จัดแสดง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมในชื่อ ศิลป์แผ่นดิน ในปัจจุบันนั้น มีกลุ่มโครงการ และกลุ่มศิลปาชีพทั่วประเทศ

ตัวอย่างศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพในประเทศไทย

  • ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม จังหวัดสกลนคร มีผลงานเด่นด้านเครื่องปั้นดินเผา
  • โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านยางน้อย จังหวัดอุบลราชธานี มีผลงานเด่นด้านผลิตภัณฑ์จากภาคเกษตรกรรม
  • ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่ฝึกอบรมงานศิลปาชีพ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับประเทศ

ประเภท เทคโนโลยีศิลปาชีพไทย

เทคโนโลยีศิลปาชีพไทย ถูกแบ่งย่อยออกเป็นศิลปาชีพแขนงต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาดั้งเดิม ของคนไทยตั้งแต่อดีต และถูกต่อยอด สืบทอดเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน ดังหัวข้อต่อไปนี้

1. เทคโนโลยีการแกะสลัก

เทคโนโลยีการแกะสลัก

เทคโนโลยีการแกะสลัก เป็นงานช่างฝีมือ ที่ใช้ความชำนาญเฉพาะตัว แกะสลักลวดลายแบบต่างๆ ลงบนวัตถุ ด้วยการใช้สิ่ว และค้อน เป็นเครื่องมือหลักในการแกะสลัก สามารถสื่อความรู้สึกได้ด้วยการสัมผัสมือ และด้วยสายตา

ซึ่งต้องอาศัยการใช้เครื่องมือให้เป็น การแกะสลักให้ได้ดีนั้น จะต้องเข้าใจลักษณะลวดลายต่างๆดีพอ สามารถเขียนลวดลายได้ และต้องรู้จักการใช้สิ่ว กับค้อนไม้ ลักษณะการแกะสลักชิ้นงานแต่ละชิ้น ไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิธีการ และความชำนาญของผู้ทำ

2. เทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผา

เทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผา

เทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผา เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงาน ที่มีสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีการพัฒนาจากอดีตสู่ปัจจุบันมาตามลำดับ วัตถุดิบที่สำคัญของเครื่องปั้นดินเผาคือดิน ผู้สร้างสรรค์งาน ต้องมีความเข้าใจในเรื่องดิน แหล่งดิน และส่วนผสมของดิน

กระบวนการสร้างเครื่องปั้นดินเผา ต้องมาจากการใช้ดินที่ดี เตรียมดินเอาไว้ นำมานวดดิน ขึ้นรูป สร้างรูป ตลอดจนการเผา การควบคุม และสังเกตอุณหภูมิความร้อนในการเผา ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ต้องใช้ประสบการณ์ความชำนาญ ความสามารถเฉพาะตัว

หรืออาจจะนับได้ว่า งานเครื่องปั้นดินเผา คือการนำธาตุทั้ง 4 ชนิด ประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม และไฟ มาผสมผสานกันอย่างกลมกลืน จนเกิดเป็นรูปทรง เพื่อประโยชน์ใช้สอย

3. เทคโนโลยีงานโลหะกรรม

เทคโนโลยีงานโลหะกรรม

เทคโนโลยีงานโลหะกรรม เป็นการนำโลหะที่มีอยู่ มาเปลี่ยนสถานะด้วยความร้อน โดยไม่เสียสภาพ เพื่อให้โลหะกลายเป็นของเหลว และนำมาทำเป็นรูปทรงต่างๆ จากการหล่อ และการตีโลหะ เพื่อให้กลายเป็นรูปทรงต่างๆ ตามต้องการ

4. เทคโนโลยีเครื่องจักสาน

เทคโนโลยีสิ่งทอ

เทคโนโลยีเครื่องจักสาน หมายถึงสิ่งที่ผลิตขึ้นด้วยมือ โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาทำให้เป็นรูปทรง เพื่อใช้ประโยชน์ เช่น การนำใบไม้ กิ่งก้าน ลำต้น เส้นใย และเถาวัลย์ มาสานขัดเป็นรูปทรงง่ายๆ

สำหรับใช้เป็นภาชนะก่อน แล้วจึงพัฒนามาเป็นเครื่องจักสาน ที่มีความละเอียด ประณีต ในยุคต่อๆมา รูปทรงของเครื่องจักสาน จะมีความแตกต่างกันไปตามฝีมือ ความคิด และท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์ คตินิยม อาชีพ ของคนในภูมิประเทศนั้นๆ

5. เทคโนโลยีสิ่งทอ

เทคโนโลยีสิ่งทอ

เทคโนโลยีสิ่งทอ เป็นเทคโนโลยีการทอผ้าไทย มีขั้นตอนและรูปแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบสร้าง ที่อาศัยวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่ ฉะนั้น ตามชนบทที่มีการทอผ้า จึงประดิษฐ์เครื่องมือ ที่ทำด้วยไม้ไผ่ เป็นส่วนประกอบ

เนื่องจากไม้ไผ่นั้นหาได้ง่าย มีอยู่ทั่วไป ถึงแม้ว่าจะล้าสมัยไปบ้าง แต่การทำการถักทอ ใช้ได้ผลดีเลิศ และยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ การทอผ้าแบบไทย จำเป็นต้องเตรียมงานหมดทุกอย่าง ตั้งแต่การเตรียมฝ้าย ปั่นฝ้าย หรือการใช้ไหม จากตัวอ่อนไหม เพื่อเป็นวัสดุสำหรับการทอผ้า

เทคโนโลยีศิลปาชีพ กับวิถีชีวิตไทย

วิถีชีวิตไทย ถูกแบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ก็คือ วิถีหน้าแล้ง และ วิถีหน้าน้ำ เนื่องจากน้ำ เข้ามามีบทบาทโดยตรงต่อการใช้ชีวิต ของคนไทยตั้งแต่ในอดีต มาจนถึงปัจจุบัน

วิถีชีวิตหน้าแล้งน้ำ

วิถีชีวิตหน้าแล้งน้ำ คนไทยก็ได้สร้างศิลปาชีพประเภทหนึ่ง ที่มักนิยมทำกันในหน้าแล้ง ก็คือ “การย้อมคราม” เกิดจากการนำพืชชนิดหนึ่ง มาสกัดสีครามออกมา เพื่อนำมาย้อมเสื้อผ้า เหมือนที่เรามักจะได้เห็น ภาพชาวนาใส่เสื้อสีคราม

วิถีชีวิตหน้าน้ำ

วิถีชีวิตหน้าน้ำ กับคนไทยนั้น ได้ผูกพันกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ การตั้งบ้านเรือน หรือชุมชน ก็มักจะตั้งใกล้ หรือติดอยู่กับแหล่งน้ำ เนื่องจากสายน้ำเป็นเส้นทางคมนาคม เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่ประกอบอาชีพ และใช้เพื่อการเพาะปลูก ทางด้านการเกษตร

สรุป เทคโนโลยีศิลปาชีพไทย

เทคโนโลยีศิลปาชีพไทย ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท หลายแขนง ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวไทย มาตั้งแต่ครั้งในอดีต ปัจจุบันยังคงสืบสานวัฒนธรรมเรื่อยมา ถือเป็นการอนุรักษ์ ความเป็นไทย ให้คงอยู่กับประเทศไทยตราบนานเท่านาน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง