เขตธรณีวิทยาหลักในไทย คือสภาพภูมิประเทศ สภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ถูกแบ่งออกมาเป็นเขตธรณีวิทยารูปแบบต่างๆ ของประเทศไทย พาตะลอน จะพาไปแนะนำพื้นที่เหล่านี้ ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีพื้นที่แบบใดบ้าง
เขตธรณีวิทยาหลักในไทย เริ่มขึ้นจากประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของทวีปลอราเซีย (Laurasia) ซึ่งเป็นแผ่นดินใหญ่ในโลกเหนือ ผ่านมาประมาณ 50 ล้านปี เกิดการแยกตัวของทวีปกอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland)
การแยกตัวของทวีปครั้งนั้น ทำให้อินเดียเริ่มเคลื่อนตัวมายังเอเชีย และในที่สุดก็ชนกับทิเบต ซึ่งขณะนั้นยังเป็นไหล่ทวีปใต้น้ำ แรงปะทะทำให้ทิเบตยกตัวขึ้น จากใต้ทะเล กลายเป็นเทือกเขาหิมาลัย ที่เรารู้จักในปัจจุบัน
ขณะเดียวกันนั้น แผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ชน และดันกันขึ้นเป็นแนวขนาน 3 แนว ของเทือกเขาใหญ่ในภูมิภาคนี้ คือ เทือกเขาอราคันโยมา เทือกเขาดอว์นา-ตะนาวศรี และเทือกเขาอันนัม
เขตธรณีวิทยาหลักในไทย (The Main Geological Regions of Thai) สามารถแบ่งพื้นประเทศไทยได้เป็น 3 เขต คือเขตภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ประกอบด้วยเทือกเขาหลายเทือก ซึ่งมีแกนเป็นหินแกรนิต และหินปูน เป็นส่วนประกอบสำคัญ
ภาคกลางประกอบด้วยที่ราบ 2 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งปิโตรเลียม ถ่านลิกไนต์ และก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย เกิดขึ้นจากการตกตะกอนทับถมกันมานานกว่า 50 ล้านปี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแผ่นดินที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียกกันว่า อีสาน เทือกเขาทั้ง 3 ในภาคนี้เป็นหินทราย ส่วนใหญ่มียอดราบ หินทรายจะมีการแปรสภาพไปตามสภาพอากาศ ทำให้มีรูปร่างที่แปลกตามากมาย
ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่ง ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ภาคเหนือและตะวันตก มีทิวเขาสลับกับที่ราบหุบเขา เป็นลักษณะภูมิประเทศ ส่วนทางภาคกลาง เป็นที่ราบ และที่ราบลุ่มแม่น้ำ ปากน้ำโพ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากแม่น้ำหลายสายมาบรรจบกัน
ทางภาคใต้ ยังเป็นแหล่งพื้นที่สำคัญ ที่อยู่ติดกับทะเล ทั้งด้านอ่าวไทย และทะเลอันดามัน เป็นพื้นที่ประมงที่สำคัญ แหล่งทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
เป็นภูมิทัศน์ที่เป็นเขตชุมชน ในเมืองใหญ่ มีประชากรอยู่กันหนาแน่น ตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มีประชากรกว่าหลายล้านคน เป็นศูนย์กลางของ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ผู้คนส่วนใหญ่ที่ทำงานในเขตชุมชนเมือง มักอยู่อาศัยในเขตชานเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัด ระบบคมนาคมมีประสิทธิภาพ ระหว่างเมืองใหญ่กับเขตชานเมือง มีความจำเป็นมาก ที่จะทำให้ผู้คนเดินทางไปทำงานได้สะดวก
เขตชานเมือง ยังมีที่ดินเพื่อการพัฒนาเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์การค้า สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ และสถานที่สำคัญอื่นๆ สำหรับบริการให้กับชุมชน
อุตสาหกรรมสมัยใหม่ มักจะผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม บางโรงงานใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันโรงงานส่วนมาก จะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม โดยมีคลังสินค้าสำหรับเก็บ และแจกจ่ายผลิตภัณฑ์
การมีถนนที่ดี เป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้รถขนส่งสินค้า วัตถุดิบ อย่างรถยนต์ รถบรรทุก สามารถขนส่งสินค้าจากโรงงาน ไปยังโกดังสินค้า และไปถึงท่าเรือ เพื่อส่งออก กระจายสินค้าไปยังชุมชนต่างๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น
ในประเทศไทย มีการปลูกพืชธัญญาหาร ในพื้นที่ชนบทเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ทำให้มีการใช้น้ำจากแม่น้ำ เพื่อการเพาะปลูก ในการเพาะปลูกพืชเหล่านี้ รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ ต้องอาศัยแรงงานของผู้คน ในปัจจุบันเกษตรกร มีการใช้เครื่องมือเครื่องจักร ช่วยทดแทนแรงงาน ในภาคเกษตรกรรม
การประมง เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ ของเมืองชายฝั่งทะเล ในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ชายฝั่งทะเล ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก หาดทรายและภูมิอากาศ ที่สบาย ทำให้เมืองชายฝั่งของประเทศไทย เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก
เขตธรณีวิทยาหลักในไทย มีความหลากหลายแตกต่างกันไป ตามภาคของประเทศ เขตธรณีหลายแห่ง เป็นจุดสำคัญที่สร้างรายได้แก่ประเทศ เป็นเขตเศรษฐกิจ แหล่งชุมชน รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ที่ช่วยผลักดันประเทศไทย ให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป
อัปเดตข่าวสารฉับไวทุกวัน ทุกเรื่องบนโลกใบนี้ ทุกข่าวสารใหม่ เนื้อหาเน้นๆ รู้ทันก่อนใคร ติดตามได้ที่พาตะลอน