ประวัติศาสตร์ สื่อบันทึกโบราณ คือเรื่องราวของการใช้ อักขระ ตัวอักษร แกะสลักหรือขีดเขียนลงใน สื่อบันทึก ที่ใช้กันในยุคโบราณ ถือเป็น ประวัติการสื่อสารของมนุษย์ ย้อนกลับไปหลายร้อย หลายพันปีที่ผ่านมา หลักฐานสื่อบันทึกโบราณ ยังคงถูกเก็บรักษา ตกทอดกันมาถึงปัจจุบัน เพื่อให้คนรุ่นหลังศึกษา
สื่อบันทึกโบราณ สร้างขึ้นมาจากวัสดุต่างๆ ที่หาได้ตามท้องที่ วัสดุที่ใช้จะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน เพื่อป้องกันการเสียหายในระหว่างพกติดตัว หรือในระหว่างการเก็บรักษา
มนุษย์สามารถทำเสียงที่แตกต่างกันได้หลายเสียง เช่น เสียง กอ ขอ คอ งอ หรือ อะ อิ อุ การสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาแทนเสียงเหล่านี้ แล้วประสมขึ้นเป็นคำ ก็จะสามารถสร้างสัญลักษณ์ แทนภาษาพูดได้ครอบคลุมทุกเสียง เท่าที่มนุษย์ออกเสียงได้
ตัวเขียนระบบเสียง หรือตัวอักษร (Alphabet) เป็นตัวเขียนที่ใช้สัญลักษณ์แต่ละตัว แทนเสียงหนึ่ง ทำให้สามารถแยกเสียงพยัญชนะ สระ เพื่อนำมาประสมเป็นคำที่ออกเสียงแตกต่างกันได้ นับเป็นวิวัฒนาการตัวเขียนขั้นสุดท้ายของมนุษย์ ที่สามารถใช้บันทึกแทนภาษาพูด
เมื่อตัวเขียนสามารถสื่อแทนคำพูด ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ได้อย่างครบถ้วนแล้ว การพัฒนาในลำดับถัดมา คือการทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการตัดทอนรายละเอียดของภาพออกไป จนมีลักษณะเป็นตัวสัญลักษณ์มากขึ้น เกิดเป็นตัวเขียน ระบบสัญลักษณ์
ตัวเขียนระบบสัญลักษณ์ จึงเป็นตัวเขียนระบบภาพ และตัวเขียนระบบภาพแสดงความคิด ที่ถูกพัฒนาให้มีรูปแบบลายเส้นที่ง่ายขึ้น ไม่มีรายละเอียดของภาพมากนัก ทำให้เกิดความเหมือนจริงน้อยลง สามารถเขียนได้สะดวกกว่าเดิม แก้ปัญหาภาพวาดไม่เหมือนจริงได้
ตัวเขียนทั้ง 3 แบบ คือ ตัวเขียนระบบภาพ ตัวเขียนระบบภาพแทนความคิด และตัวเขียนระบบสัญลักษณ์ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนความหมายของคำแต่ละคำ เมื่อมีการสร้างคำใหม่ ก็ต้องสร้างตัวเขียนใหม่เพิ่มขึ้นด้วย
สื่อบันทึกโบราณที่มีอยู่จริง จากอาณาจักรในยุคโบราณ ถูกค้นพบโดยนักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ สิ่งบันทึกนั้น บอกเล่าเรื่องราวต่างๆนานา จากผู้ที่สร้างและเขียนมัน ที่บันทึกเรื่องราวแตกต่างกันไป
ชาวสุเมเรียนใช้แผ่นดินเหนียวบันทึกจำนวน และรายการสินค้าของพวกเขา นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า อักษรภาพรุ่นแรกสุดของ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ใช้ลิ่มกดลงบนแผ่นดินเหนียว เป็นภาพแทนคำสำหรับบันทึกเรื่องราวต่างๆ
มีทั้งการบันทึกแทนจำนวนสินค้า แทนชื่อทรัพย์สิน เช่นเครื่องดื่ม เบีย เมล็ดพืช รวมถึงอื่นๆ ซึ่งการใช้สัญลักษณ์แทนความหมายเหล่านี้ อาจเป็นที่มาของตัวเขียนระบบภาพ
ตัวเขียนระบบภาพของจีนยุคแรก ที่จารึกลงบนกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกหมู วัว หรือกระดองเต่า เรียกว่า ตัวเขียนกระดูกมังกร หรือ เจียกู่เหวิน กระดูกทำนาย ในพิธีกรรมการทำนายอนาคตของชาวจีนโบราณ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง (Shang Dynasty)
เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ได้นำกระดูกสะบักของสัตว์ ซึ่งส่วนมากเป็นกระดูกสะบักของวัว และควาย มาเผาไฟจนเกิดรอยไหม้ หรือรอยแตก จากนั้นผู้ทำพิธีจะทำนายอนาคตจากรอยแตก คำทำนายที่ได้มักจะถูกจารึกไว้บนกระดูกสะบักชิ้นนั้น
กระดูกในพิธีจะเรียกว่า กระดูกทำนาย (Divinity Bone; Oracle Bone) ต่อมาการทำนายนี้ นำไปสู่ระบบการเขียนอักษรภาพ ของชาวจีนบนกระดูกสะบักของวัว ควาย หรือกระดองเต่า จนพัฒนามาเป็นตัวอักษรของชาวจีนในปัจจุบัน
แผ่นจารึกนี้ใช้วิธีการสลักตัวอักษร บนแผ่นหินมีอายุประมาณ 3,500 ปี ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกบนเกาะครีต และหลายแห่งในประเทศกรีก อักษรลิเนียร์ บี เป็นตัวอักษรที่ใช้บันทึกภาษากรีกโบราณ ของอารยธรรมครีต เป็นตัวอักษรสัญลักษณ์แทนพยางค์ และเป็นตัวอักษรรุ่นแรก ที่พบในทวีปยุโรป
แผ่นทองจารึกอักษรฟินิเชียน ค้นพบที่เมืองไพรจี (Pyrgi) ประเทศอิตาลี มีอายุประมาณ 1,500 ปี อักษรฟินิเซีย เป็นตัวเขียนระบบแทนเสียง หรือตัวอักษร ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว
ถือเป็นต้นกำเนิดของการพัฒนาอักษรหลักๆของโลก เช่น อักษรโรมัน (เป็นที่มาของอักษรภาษาอังกฤษ) อักษรอารบิก (ต้นกำเนิดของตัวเลขอารบิก) และอักษรแอราเมอิก (ต้นกำเนิดของอักษรพราหมี ซึ่งต่อมาถูกพัฒนาเป็นอักษรของหลายๆภาษา ทั้งในเอเชีย รวมถึงประเทศไทย)
สื่อบันทึกโบราณถือเป็นรากเหง้าของตัวอักษร ภาษาเขียน ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพราะมนุษย์ในยุคก่อนได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อสื่อสาร แทนการพูด พัฒนาสืบต่อกันมาตามกาลเวลา จนกลายเป็นตัวอักษรแต่ละชาติ ที่มีการใช้เพื่อสื่อสารกันทั่วโลก
อัปเดตข่าวสารฉับไวทุกวัน ทุกเรื่องบนโลกใบนี้ ทุกข่าวสารใหม่ เนื้อหาเน้นๆ รู้ทันก่อนใคร ติดตามได้ที่พาตะลอน