ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย จุดเริ่มความก้าวหน้าวิทยาศาสตร์ในสยาม

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย เป็นเรื่องราวการเริ่มต้น ของการรับวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาปรับใช้ในแผ่นดินสยาม อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สำคัญนี้ และเป็นผู้ที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พัฒนาสยามให้ก้าวหน้า อย่างไม่เคยมีมาก่อน

ใครคือ พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย ?

บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2347 – ปี พ.ศ. 2411 ท่านคือผู้เปิดรับเอาวิทยาศาสตร์ จากโลกภายนอก มาปรับใช้ในแดนสยาม จึงถือเป็น ผู้บุกเบิกวิทยาศาสตร์สยามคนแรก

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย จุดเริ่มแรกการรับเอาวิทยาศาสตร์

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย

จากการที่ชาติตะวันตก ที่มีเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ ที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลกในยุคนั้น เข้ามาสู่ดินแดนไทย พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นการยากที่จะต่อกร กับการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก จึงใช้การทูต เข้าเจรจา เผื่อผูกไมตรี

จากนั้นจึงรับเอาวิทยาศาสตร์ วิทยาการ ในด้านต่างๆจากชาติตะวันตก มาปรับใช้ในแดนสยามเป็นครั้งแรก รวมถึงเผยแพร่ความรู้ สู่ประชาชนคนไทย จนทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว และเป็นจุดเริ่มต้นของ วิทยาศาสตร์ในสยาม

คติความเชื่อของชาวไทย ต่อวิทยาศาสตร์

จากเรื่องราว ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย ได้กล่าวไว้ว่า ตั้งแต่ในอดีต คนไทยมีความเชื่อในเรื่องศาสนา อย่างเข้มข้น จนอยู่ในสายเลือด เป็นการยากที่จะทำให้ประชาชน หันมาเชื่อ ศึกษาในวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมีบางความคิดเห็น ที่มาขัดแย้งกับความเชื่อดั้งเดิม

ตัวอย่างความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ ที่ขัดแย้งต่อความเชื่อดั้งเดิม

  1. วิทยาศาสตร์เชื้อว่าภูตผีไม่มีอยู่จริง
  2. ปรากฏทางธรรมชาติ เกิดขึ้นตามหลักวิทยาศาสตร์ ไม่เกี่ยวกับเทพเทวดา
  3. วิทยาศาสตร์เชื่อว่า สัตว์ในตำนานไม่มีอยู่จริง
  4. วิทยาศาสตร์ไม่เชื่อในเรื่องของ บาปบุญ
  5. การถ่ายภาพ ไม่มีส่วนทำให้ลดอายุขัย หรือช่วงชิงวิญญาณ
  6. ดวงดาวคือดาวเคราะห์ ที่โคจรอยู่จริง มิได้เกี่ยวกับเรื่องทางเทพเทวดา หรือวิญญาณ

จากความขัดแย้งทางความเชื่อดั้งเดิม และวิทยาศาสตร์ที่รับเข้ามาใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องใช้เวลาเพื่อพิสูจน์ และถ่ายทอดความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ ให้เหล่าประชาชนยอมรับ และเป็นจุดเริ่มต้นการศึกษาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ในแดนสยาม

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย กลยุทธ์แห่งปราชญ์ ของรัชกาลที่ 4

กลยุทธ์แห่งปราชญ์ จากพระวิสัยทัศน์ และปรีชาญาณ ที่ได้มีส่วนช่วยวางรากฐาน เพื่อดำเนินการพัฒนาประเทศสยาม อย่างมีขั้นตอนแบบแผน มิให้สยามเสียผลประโยชน์จากชาติตะวันตก และยังมีความยั่งยืนของประเทศ ในระยะยาว

กลยุทธ์แห่งปราชญ์ ทางด้านสังคม และการเมือง

หนึ่งในวิสัยทัศน์ ที่พระองค์ทรงวางรากฐาน และต้องการปรับเปลี่ยนให้สยามดียิ่งขึ้น คือการพัฒนาด้านสังคม และการเมืองในสยาม โดยมีหัวข้อการพัฒนาดังนี้

  1. บูรณาการศาสตร์ สร้างชาติให้เข้มแข็ง
  2. พระราชกุศโลบาย ด้านการต่างประเทศ
  3. ริเริ่มวางรากฐาน สาธารณูปโภคสมัยใหม่
  4. ปฏิรูประบบเงินตราครั้งแรกในสยาม
  5. ปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีในสยาม

กลยุทธ์แห่งปราชญ์ ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย

อีกหนึ่งในกลยุทธ์ ของพระองค์ท่านก็คือ การนำเอาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ได้รับ มาปรับใช้ในสยาม ให้เหมาะสมกับสภาพ ณ เวลานั้น เพื่อให้สยามเกิดการเปลี่ยนแปลง ไปในทิศทางที่พัฒนา อย่างเป็นสากลมากขึ้น มีหัวข้อใจความดังนี้

  1. วางรากฐานสื่อ และกิจการงานสิ่งพิมพ์
  2. วางแนวทางรับ เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่
  3. ริเริ่มพัฒนากองทัพให้ทันสมัย
  4. สนับสนุนให้มีการต่อเรือกลไฟ และเรือรบด้วยตนเอง

พระมหากษัตริย์ยอดนักวิทยาศาสตร์ สถาปนาระบบขึ้นมาใหม่

พระมหากษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์ หรือรัชกาลที่ 4 ทรงนำความรู้ที่ได้รับ นำมาศึกษาจนแตกฉาน แล้วพัฒนาต่อยอด ให้เกิดศาสตร์ เกิดเป็นความรู้ใหม่ ที่สามารถปรับใช้กับประเทศสยาม ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

การสถาปนาด้านการนับเวลา ให้เป็นเวลามาตรฐานสากล

เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือระบบการนับเวลา ยกเลิกการนับเวลาแบบเก่า ที่มีความคลาดเคลื่อนสูง ไม่เที่ยงตรง ให้กลายเป็นระบบใหม่ ที่มีความสากล เกิดการยอมรับกว้างขวาง

  • สถาปนาเวลามาตรฐาน ให้มีความแม่นยำมากขึ้น
  • สร้างพระที่นั่งภูวดลทัศนัย หอนาฬิกาแห่งแรกในสยาม

ปรับปรุงระบบการคำนวณ และดาราศาสตร์ในสยาม

เป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์อีกแขนง ที่พระองค์สนพระทัย มีการศึกษาเชิงลึกด้วยตนเอง แล้วนำความรู้เหล่านั้น มาปรับใช้ในราชสำนัก กองทัพ และการพัฒนาปฏิทิน

  • สร้างหอสังเกตปรากฏการณ์ท้องฟ้า หรือหอดูดาวหลายแห่ง
  • พัฒนาปฏิทินจันทรคติ ให้มีความแม่นยำมากกว่าที่เคย
  • สร้างปฏิทินปักขคณนา ปฏิทินแห่งสยามในยุคเริ่มแรก
  • วางรากฐาน การเก็บข้อมูลแบบวิทยาศาสตร์ในสยาม
  • วางรากฐานการสื่อสาร ด้านวิทยาศาสตร์กับสังคม

เกิดความเข้าใจใน จันทรุปราคาเต็มดวง อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย

พระองค์ทรงศึกษา เหตุการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ในเหตุการณ์ เหนือฟากฟ้า ที่หาดหว้ากอ ที่เกิดจากปรากฏการณ์ของเงาโลก บดบังดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่เรียงในแนวตรงกัน โดยมีโลกบังแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเงาบนดวงจันทร์เต็มดวง

“ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง มักเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง เหมือนสีอิฐ หรือสีทองแดง เกิดจากแสงที่ผ่านชั้นบรรยากาศโลก แล้วหักเห ไปตกบนผิวดวงจันทร์ แสงสีแดงหักเหได้ดีว่าแสงอื่นๆ จึงมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง”

ค้นพบ ดาวหางโดนาติ

ปรากฏในปี พ.ศ. 2401 เดือนกันยายน – ตุลาคม ทรงออกประกาศ “ดาวหางขึ้นอย่าให้วิตก” ลักษณะหางแยกเป็นสองหาง คือหางก๊าซ และหางฝุ่น สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า “การสังเกตดาวหาง มักใช้กล้องส่องทางไกลสองตา ส่องสังเกต”

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย ในปัจจุบัน

วิทยาศาสตร์ไทยในปัจจุบัน พัฒนาก้าวหน้าตามสากล และยังมีการส่งเสริมทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง จากหลากหลายบุคคล รวมถึงในเชื้อพระวงศ์

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปัจจุบัน

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย

พระบรมราชินีนาถ กับวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาอาชีพ ในปัจจุบัน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของพสกนิกรที่ยากจนในท้องถิ่นชนบทห่างไกล

โครงการการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

  • เฉลิมฉลอง 60 พรรษา จัดโครงการพิพิภัณฑ์วิทยาศาสตร์ไทย
  • วางศิลาฤกษ์ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
  • จัดตั้งองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
  • เดินหน้า นิทรรศการวิทยาศาสตร์
  • จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ไทย

สรุป ประวัติวิทยาศาสตร์ไทย

ประวัติวิทยาศาสตร์ไทยก็เป็นเรื่องราวตั้งแต่การเริ่มต้น การศึกษา เพื่อนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในประเทศอย่างจริงจัง และค่อยๆถูกพัฒนาต่อยอดเรื่อยมา จนในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ก็ยังคงพัฒนาไปข้างหน้าต่อ โดยไม่มีหยุดยั้งในดินแดนไทยแห่งนี้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง